[ข้อมูล] 1 ธันวาคม วันเอดส์โลก วันโลกต้านเอดส์ คำขวัญวันเอดส์โลก (World AIDS Day)

aids-day          โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาดได้ จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “วันเอดส์โลก” หรือ “วันโลกต้านเอดส์”  หรือ World AIDS Day ซึ่งเริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
           1. เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์ และการเจ็บป่วยจากโรคเอดส์ 
           2. เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุน ให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ
           3. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง 
           4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอดส์
           5. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 
โรคเอดส์ (AIDS) หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome) 

            A = Acquired หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด 
            I = Immune หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
            D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง ความเสื่อม
            S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการของโรค ซึ่งมีอาการหลายลักษณะตามระบบต่าง ของร่างกาย

                 โรคเอดส์ (AIDS) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเซียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอชไอวี (HIV) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้กันต่ำลงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกไวรัสทำลายและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาซ้ำเติมในภายหลัง (เรียกว่าโรคฉวยโอกาส) เช่น วัณโรค ปอดบวม ติดเชื้อในระบบโลหิต เชื้อรา ฯลฯ
                 เชื้อไวรัสเอดส์ มีหลายสายพันธุ์
                 สายพันธุ์หลักดั้งเดิม ได้แก่ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา กลาง

                   สายพันธุ์เอชไอวี-2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบแอฟริกาตะวันตก นอกจากนั้นยังมีสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ อีกมากมายตามเวลาที่ผ่านไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์นี้สามารถกลายพันธุ์ได้ง่าย

อาการของการติดเชื้อเอดส์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1
     กลุ่มผู้ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสเอดส์แต่ยังไม่ปรากฎอาการผิดปกติแต่อย่างใด บุคคลกลุ่มนี้จัดเป็นพาหะนำโรคซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้อย่างไม่จำกัดจำนวนนับว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ เพราะผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เป็นเวลานาน หากไม่มีการตรวจพบเชื้อจะไม่มีทางทราบได้เลย ว่าบุคคลนี้มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ในร่างกาย จนกว่าจะมีอาการป่วยปรากฎออกมาให้เห็น

ระยะที่ 2
เป็นอาการที่พบได้ก่อนที่จะปรากฎอาการป่วยเป็นโรคเอดส์ (AIDS-Relate Complex) หรืออาจเรียกว่า กลุ่มอาการ ARC หมายถึง กลุ่มที่มีอาการ จะสังเกตได้จากอาการเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุในระยะนี้สามารถตรวจพบภูมิคุ้มกันในเลือดของผู้มีอาการนำ หรืออาจจะสังเกตลักษณะของอาการได้ดังนี้

     1. มีไข้สูงเกิน 37.8 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน
     2. น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 4.5 กิโลกรัม หรือมากว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมภายใน 2 เดือน
     3. ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายหลายแห่งบวมโตนานกว่า 3 เดือน
     4. อุจจาระร่วงเรื้อรังนาน 1-3 เดือน
     5. เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน และพบว่าร้อยละ 20 ของกลุ่ม ARC จะมีอาการลุกลามไปเป็นโรคเอดส์ในเวลาต่อมา
     6. แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งจะไม่มีเรี่ยวแรงและทำงานไม่ประสานกัน

ระยะที่ 3
เป็นระยะที่กลุ่มผู้ป่วยจะปรากฎอาการของโรคเอดส์ซึ่งอาการในระยะนี้แบ่งตามอาการที่ปรากฏออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือการติดเชื้อชนิดฉวยโอกาส และอาการของโรคมะเร็ง

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ สามารถแยกออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
     1. กลุ่มมีเพศสัมพันธ์ผิดธรรมชาติหรือสำส่อนทางเพศ เช่น กลุ่มรักร่วมเพศชาย กลุ่มรักต่างเพศ
     2. กลุ่มผู้ติดยาเสพติด
     3. กลุ่มที่รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด
     4. กลุ่มที่ได้รับเลือดจากมารดา

 สัญลักษณ์วันเอดส์โลก

     สัญลักษณ์ของ วันเอดส์โลก คือ โบว์สีแดง (Red Ribbon) เป็นสัญลักษณ์ของวันเอดส์โลก ที่ใช้กันทั่วโลก เพื่อแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี โพซิทีฟ (HIV-positive) กับผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเอดส์ทั้งหลาย

คำขวัญวันเอดส์โลก
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา จะมีการกำหนดคำขวัญวันเอดส์โลก ขึ้น ซึ่งคำขวัญใน วันเอดส์โลก แต่ละปีมีดังนี้

พ.ศ. 2531  Communication about AIDS: เอดส์ป้องกันได้ หากร่วมใจกันทั่วโลก
พ.ศ. 2532 Importance of Youth in the AIDS Epidemic: เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ช่วยผู้ตกเป็นเหยื่อเอดส์
พ.ศ. 2533 Women are the Key to achieving health for all : สุขภาพดีไม่มีเอดส์ สตรีเพศเป็นแกนนำ
พ.ศ. 2534  Sharing the Challenge: ร่วมมือ ร่วมใจ ต้านภัยเอดส์
พ.ศ. 2535 AIDS : A Community Commitment: เอดส์เป็นปัญหาของทุกคน ประชาชนต้องร่วมแก้ไข
พ.ศ. 2536 Time to Act : จริงจัง จริงใจ ขจัดภัยเอดส์
พ.ศ. 2537 AIDS and the Family : Family Takes Care -ครอบครัวทั่วไทย ห่วงใยปัญหาเอดส์ ไม่ปฏิเสธความช่วยเหลือ
พ.ศ. 2538 Share Right , Share Responsibility : เคารพสิทธิ์ รับผิดชอบ มอบน้ำใจ สังคมไทยปลอดเอดส์
พ.ศ. 2539 One World , One Hope : โลกนี้ยังมีหวัง รวมพลังหยุดยั้งเอดส์
พ.ศ. 2540  Children Living in a world with AIDS : สร้างสรรค์โลกใหม่ ให้เด็กไทยไร้เอดส์
พ.ศ. 2541 Force for change world Aids campaign with young people : คนรุ่นใหม่ ร้อยใจ รวมพลัง หยุดยั้งเอดส์
พ.ศ. 2542 Listen , Learn , Live : รู้เขา รู้เรา รู้เท่าทันเอดส์
พ.ศ. 2543 Men make a difference : เอดส์ลดหรือเพิ่ม เริ่มที่ผู้ชาย
พ.ศ. 2544 I care….Do you? : เอดส์ลดแน่ ถ้าคุณร่วมแก้ไข
พ.ศ. 2545 Stigma and Discrimination – Live and Let Live : ทุกชีวิตมีคุณค่า โปรดอย่าตัดสินด้วยเอดส์
พ.ศ. 2546 Stigma and Discrimination – Live and Let Live : ทุกชีวิตมีคุณค่า โปรดอย่าตัดสินด้วยคำขวัญวเอดส์โล เอดส์
พ.ศ. 2547 Woman, girls, HIV and AIDS : เยาวชนรุ่นใหม่… เข้าใจเรื่องเพศ…ร่วมป้องกันเอดส์
พ.ศ. 2548 Stop AIDS Keep the promise : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
พ.ศ. 2549 Stop AIDS. Keep the Promise – Accountability : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
พ.ศ.2550 Stop AIDS. Keep the Promise – Leadership : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
พ.ศ. 2551 Stop AIDS. Keep the Promise – Lead – Empower – Deliver : เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา
พ.ศ. 2552 Universal Access and Human Rights : เข้าถีงยา เข้าถึงสิทธิ์ พิชิตเอดส์
พ.ศ. 2553 Act Aware : สิทธิทางเพศ สิทธิด้านเอดส์ คือ สิทธิมนุษยชน
พ.ศ. 2554 Getting to zero : เอดส์ ลดแล้ว…ลดอีก
พ.ศ. 2555 Getting to zero : เอดส์ลดให้เหลือศูนย์ได้
พ.ศ. 2556 Getting to zero : zero new HIV infections. Zero discrimination. Zero AIDS related deaths : เอดส์ลดให้เหลือศูนย์ได้ ; ลดการติดเชื้อรายใหม่

ยารักษาโรคเอดส์

      ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ มีแต่เพียงยาที่ใช้เพื่อยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ
          1. Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์
          2. Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
          3. Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV 
          หากรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์แล้ว อาจมีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน มีผื่นตามผิวหนัง โลหิตจาง ฯลฯ ดังนั้น การรับประทานยาเหล่านี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

 กิจกรรมวันเอดส์โลกในโรงเรียน

            กิจกรรมวันเอดส์โลกในโรงเรียน อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยอาจจัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์ เช่น จัดนิทรรศการ เสียงตามสาย การแข่งขันตอบปัญหา รวมถึงการให้ความรู้แก่นักเรียนในการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากจากโรคเอดส์ โดยชี้ให้เห็นถึงผลที่จะเกิดขึ้น หากติดเชื้อเอดส์ หรือมีแนวปฏิบัติต่อไปนี้เพื่อไม่ตกเป็นกลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อเอดส์ ดังนี้ 
            1. ไม่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนหรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
            2. รักเดียว ใจเดียว
            3. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดใช้สารเสพติดทุกชนิด
            4. ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

เรียบเรียงข้อมูลจาก :
http://scoop.mthai.com/scoop/5459.html
http://hilight.kapook.com/view/31351



Leave a Comment