แนวโน้มของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา ทิศทางของวิทยาศาสตร์ศึกษา อนาคตของ Science Education Trend

          ในปัจจุบันงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (science education) ในระดับนานาชาติได้รุดหน้าไปมาก ทั้งนี้การใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาในวงการวิทยาศาสตร์ศึกษา ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมากมาย หากแบ่งประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาได้วิจัยอยู่ในปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดแบ่งไว้ดังต่อไปนี้

                1. การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดและความเข้าใจของนักเรียน การเปลี่ยนแปลงแนวคิด (Science learning, conceptions, understanding, conceptual change)

                2. บริบทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คุณลักษณะของนักเรียน การปฏิสัมพันธ์ในระหว่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (learning context, student characteristics, interactions)

                3. การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา (primary science teaching) –ความรู้ในเนื้อหาของครู ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของครู (pedagogical content knowledge, PCK) วิธีสอน สื่อการสอน


                4. การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา (secondary science teaching)– ความรู้ในเนื้อหาของครู ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของครู (pedagogical content knowledge, PCK) วิธีสอน สื่อการสอน

                5. การสอนวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา – (college science teaching) ความรู้ในเนื้อหาของครู ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนของครู (pedagogical content knowledge, PCK) วิธีสอน สื่อการสอน

                6. การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามอัธยาศัย (Science learning in informal context).

                7. การผลิตครูวิทยาศาสตร์ (Pre-service Science Teacher Education)

                8. การพัฒนาครูประจำการ (In-service Science Teacher Education)

                9. การพัฒนาครูโดยการวิจัย – การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยศึกษาตนเอง การสะท้อนความคิด จิตตปัญญาศึกษา

                10.หลักสูตรวิทยาศาสตร์ (Science curriculum)

                11.การวัดและประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Assessment in science learning)

                12.ประเด็นวัฒนธรรม สังคม เพศ (Cultural, Social, and Gender Issues)

                13.เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)

                14.ประวัติ ปรัชญา และสังคมวิทยาศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ (History, Philosophy, and Sociology of Science

                15.สิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education)

                16.นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา (Policy issues)

                ทั้งหมดนี้ เป็นแนวโน้มของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา (trend of science education research) อย่างไรก็ตาม เว็บ Anantasook.Com เห็นว่าควรมีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งกลุ่มคือ ดาราศาสตร์ศึกษา (astronomy education) แม้ว่า ดาราศาสตร์ จะเป็นวิชาหนึ่งในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ในวงการดาราศาสตร์ศึกษาของต่างประเทศ ก็มีการพัฒนางานวิจัยในสาขาวิชาดาราศาสตร์ กันอย่างคึกคักและต่อเนื่อง  ดังนั้น นักศึกษาที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (science educator) ต้องลองพิจารณาว่าสิ่งที่ตนเองสนใจจะแก้ปัญหาโดยการวิจัย ตรงกับกลุ่มใด เพราะแต่ละกลุ่มจะมีระเบียบวิธีการวิจัยที่แตกต่างกันไป หรือหากนักศึกษาต้องการจะเป็นผู้นำทางวิชาการที่มีความโดดเด่นด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะ ก็ให้มุ่งพัฒนางานวิจัยไปในแนวนั้นๆ ได้ 

ขอขอบพระคุณ : ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา 

ที่มา :  https://sites.google.com/site/kuscienced/assignments/naewnomkhxngnganwicaydanwithyasastrsuksa



Leave a Comment