แผนที่สังเกตลิ้น ตรวจสอบโรค ตรวจสอบลิ้น ลิ้นบอกโรคสุขภาพภายใน [ลิ้นแข็งแรง สุขภาพแข็งแรง]

tongue-taste

ความสัมพันธ์ระหว่างลิ้นกับอวัยวะภายในร่างกาย มีดังนี้
ปลายลิ้น : รับรสเค็ม : บ่งบอกถึงความผิดปกติของหัวใจ และปอด เช่น ปลายลิ้นแดงเป็นแผล แสดงว่าหัวใจมีความร้อนมาก
กลางลิ้น : รับรสหวาน : บ่งบอกถึงความผิดปกติของม้ามและกระเพาะอาหาร ถ้าลิ้นมีฝ้าหนา โดยเฉพาะบริเวณกลางลิ้น แสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดี เกิดความชื้น หรือมีเสมหะสะสมอยู่ในร่างกาย
โคนลิ้น : รับรสขม : บ่งบอกถึงความผิดปกติของไต ถ้าฝ้าที่โคนลิ้นลอกออกจนเห็นผิวลิ้น แสดงว่าไตหยินพร่อง
ด้านข้างขอบลิ้น : รับรสเปรี้ยว : บ่งบอกถึงความผิดปกติของตับและถุงน้ำดี เช่นด้านข้างขอบลิ้นมีจุดม่วงคล้ำ แสดงว่าลมปราณ(ชี่)ที่ตับติดขัด เลือดไหลเวียนไม่ดี

การอ่านลิ้น ประกอบด้วย การดูสีลิ้น รูปร่างลักษณะของลิ้น การเคลื่อนไหวของลิ้น ลักษณะและสีของฝ้าบนลิ้น และองค์ประกอบอื่นๆ ดังนี้
tongue-map1. การดูสีลิ้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 6 สี
ลิ้นสีแดงอ่อน : พบในคนปกติ หรืออาการป่วยยังเบา
ลิ้นสีขาวซีด : ลมปราณ(ชี่)และเลือดพร่อง หยางพร่อง
ลิ้นสีแดง : มีอาการร้อนแกร่ง หยินพร่องเกิดไฟ
ลิ้นสีแดงเข้ม : มีความร้อนอยู่ภายใน มีอาการหยินพร่อง
ลิ้นสีม่วง : ลมปราณ(ชี่)และเลือดไหลเวียนไม่คล่อง

2. การดูรูปร่างลักษณะของลิ้น
ลิ้นหยาบ :  ผิวลิ้นหยาบด้าน สีลิ้นค่อนข้างคล้ำ แสดงว่าอาการป่วยเป็นอาการแกร่ง ภูมิต้านทานยังดีอยู่
ลิ้นอ่อน : ผิวลิ้นละเอียด ลิ้นบวม สีซีดอ่อน แสดงว่าอาการป่วยเป็นอาการพร่อง เช่นเลือดลมน้อย พลังหยางน้อย
ลิ้นบวมใหญ่ : ลิ้นบวมใหญ่และหนา เวลาแลบลิ้นจะเต็มปาก แสดงว่ามีความชื้นสะสมอยู่ภายใน
ลิ้นเล็กบาง : ลมปราณ(ชี่)และเลือดน้อย หยินพร่องเกิดไฟ
ลิ้นมีจุดแดงหรือเป็นจุดเหมือนหนามเล็กๆนูนอยู่บนลิ้น : อวัยวะภายในมีความร้อนอยู่มาก หรือในชั้นเลือดมีความร้อนอยู่มาก
ลิ้นมีรอยแตก : มีความร้อนมาก หยินน้อย เลือดน้อย ม้ามพร่อง
ลิ้นมีรอยหยักของฟัน : ม้ามพร่อง ภายในร่างกายมีความชื้นมาก

3. การดูลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวลิ้น
ลิ้นอ่อนแรง : ชี่และเลือดพร่อง หยินพร่อง
ลิ้นแข็งทื่อ : ความร้อนเข้าสู่เหยื่อหุ่มหัวใจ หรือมีไข้สูง หรือมีลมและเสมหะอุดตันอยู่ที่เส้นลมปราณลั่ว
ลิ้นเอียงเฉ : มักเป็นอาการล่วงหน้าหรือพบในผู้ที่มีเส้นเลือดสมองตีบ หรือเส้นเลือดสมองแตก
ลิ้นสั่น : เป็นอาการเกิดลมในตับ หรืออาจเกิดจากหยินพร่อง เลือดน้อย หยางแกร่ง มีความร้อนมาก

4. การดูเส้นเลือดที่อยู่ใต้ลิ้น
ถ้าเส้นเลือดใต้ลิ้นใหญ่ยาว มีสีแดงเข้ม หรือสีเขียว หรือสีม่วง หรือสีดำ : สะท้อนให้เห็นว่ามีเลือดคั่งอยู่ภายใน
ถ้าเส้นเลือดใต้ลิ้นสั้นและเล็ก สีของตัวลิ้นก็ซีดขาว : แสดงว่าลมปราณ(ชี่)และเลือดน้อย

5. การดูลักษณะของฝ้าบนลิ้น มีดังนี้
ฝ้าบาง : พบในคนปกติ หรืออาการป่วยที่ยังอาการเบา
ฝ้าหนา : มีความชื้นสะสมอยู่ในร่างกาย อาหารตกค้าง หรือร้อนใน
ฝ้าชื้น : พบในคนปกติ หรืออาการป่วยที่ยังไม่ลุกลามถึงระบบน้าในร่างกาย เช่น ไข้หวัดจากลมหนาว อาหารไม่ย่อย เลือดคั่ง
ฝ้าแห้ง : อาการป่วยลุกลามถึงระบบน้ำในร่างกาย เช่น มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายท้อง
ฝ้าเหนียว : มีความชื้นสะสมอยู่ภายใน
ฝ้าร่อน : ฝ้าหนา แต่เมื่อขูดจะหลุดร่อนง่าย แสดงถึงอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีเสมหะสะสมอยู่ภายใน
ฝ้าหลุดลอก : ฝ้าบนลิ้นหลุดลอกเป็นบางบริเวณหรือทั่วลิ้น บริเวณที่ฝ้าหลุดลอกไป จะเห็นตัวเนื้อลิ้นเกลี้ยงไม่มีฝ้า แสดงถึงชี่ที่กระเพาะอาหารน้อย หยินในกระเพาะอาหารมีน้อยขาดแคลน ชี่และเลือดพร่อง ร่างกายอ่อนแอ
ฝ้าเต็มลิ้น : มีความชื้น เสมหะติดขัดอยู่ภายใน
ฝ้าไม่เต็มลิ้น : ฝ้ามีอยู่บางส่วนของลิ้น เช่น มีฝ้าอยู่เพียงบริเวณปลายลิ้น หรือโคนลิ้น หรือส่วนซ้าย หรือส่วนขวาของลิ้น ส่วนใดของลิ้นมีฝ้าแสดงว่าอวัยวะที่สังกัดบริเวณมีอาการผิดปกติ เช่น มีฝ้าอยู่บริเวณด้านข้างของลิ้น แสดงให้เห็นว่ามีความชื้นร้อนอยู่บริเวณตับและถุงน้ำดี
ฝ้าจริง : ฝ้าขึ้นจากตัวลิ้น ขูดออกยาก เมื่อขูดออกแล้วจะมีรอยฝ้าอยู่ เห็นผิวลิ้นได้ไม่ชัดเจน ถ้าป่วยเป็นเวลานาน ฝ้าลิ้นเป็นฝ้าจริง แสดงว่าพลังชี่ที่กระเพาะอาหารยังมีอยู่
ฝ้าหลอก : ฝ้าไม่ติดกับตัวลิ้นนัก เหมือนทาอยู่บนผิวลิ้น ฝ้าขูดลอกออกง่าย และเห็นผิวลิ้นชัดเจน ถ้าป่วยเป็นเวลานาน ฝ้าลิ้นเป็นฝ้าหลอก แสดงว่าอาการป่วยน่าวิตก

6. การดูสีของฝ้าบนลิ้น สีของฝ้าแบ่งเป็นหลักๆได้ 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีเทาดำ
ฝ้าสีขาว : พบได้ในคนปกติ และในกลุ่มอาการภายนอก(เปี่ยวเจิ้ง) อาการหนาวเย็น มีความชื้นอยู่ภายใน และกลุ่มอาการร้อน
ฝ้าสีเหลือง : มักพบในกลุ่มอาการร้อน และเป็นอาการป่วยอยู่ภายใน
ฝ้าสีเทาดำ : บอกถึงมีความหนาวเย็นหรือมีความร้อนอยู่ภายในมาก

สรุป ลักษณะลิ้นที่ปกติ ลิ้นของคนปกติ
ลักษณะลิ้นที่ปกติคือ ตัวลิ้นอ่อน เคลื่อนไหวได้คล่อง สีลิ้นเป็นสีแดงอ่อน และมีความชุ่มชื้นพอเหมาะ ฝ้าบนลิ้นบางขาวและกระจายทั่วลิ้น 

ดังนั้น เพื่อนๆ ลองหมั่นตรวจสุขภาพผ่านการตรวจลิ้นด้วยตนเอง ให้เพื่อนๆมีลิ้นแข็งแรง สุขภาพแข็งแรงทุกคนครับ

ขอบคุณที่มาและรูปภาพแผนที่สังเกตลิ้นจาก : เพจ ปณิตา ถนอมวงษ์ : คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ภาพตำแหน่งรับรสบนลิ้นจาก : http://2g.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X13044614/X13044614-15.jpg



Leave a Comment