ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น โครงการทูบีนัมเบอร์วัน กิจกรรมชมรม To Be Number One ในสถานศึกษา

โครงการทูบีนัมเบอร์วัน (To Be Number One) คือ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นองค์ประธานอำนวยการโครงการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

ที่มาของโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
“ยาเสพติด” ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของ ประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ

ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ “เฮโรอีน” เป็นปัญหาสำคัญที่ตำรวจต้องเร่งปราบปรามให้สิ้นซาก กลายเป็น “ยาบ้า หรือสารเมทแอมเฟตามีน ที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศ จากข้อมูลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนกว่า 6 แสนคนหลงเข้าสู่วังวนของ ยาบ้า และจากสถิตินักโทษเด็ดขาด ของกรมราชทัณฑ์ที่ถูกจำคุกอยู่ตาม ทัณฑสถานทั่วประเทศ สำรวจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 137,344 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษคดียาเสพติดเกินกว่าครึ่ง คือประมาณ 87,966 คน คิดเป็นร้อยละ 64.05 และในจำนวนนักโทษเด็ดขาด คดียาเสพติดเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 27,499 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 31.26 ของนักโทษคดียาเสพติดที่ต้องโทษในคดีเสพหรือครอบครองและทั้งเสพและครอบครอง

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 6-25 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่ม เสี่ยงสูง จึงทรงรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือ และรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่ทุกคนในชาติจะร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้และเอาชนะปัญหา ยาเสพติดให้ได้โดยเร็ว

แนวการดำเนินการโครงการทูบีนัมเบอร์วัน
          1. การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
          2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชนในชุมชน
          3. การพัฒนาทักษะชีวิตและเครือข่ายการป้องกันและช่วย

ตัวอย่างกิจกรรมชมรม TO BE NUMBER ONE ( ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา )
tobenumber1
1. สร้างกระแสในกลุ่มเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด 

     1.1 รับสมัครสมาชิก TO BE NUMBER ONE 
     1.2 จัดบอร์ดหรือชุดนิทรรศการต่อต้านยาเสพติด โดยร่วมกันจัดทำอย่างต่อเนื่อง 
     1.3 จัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ ความรู้ต่อต้านยาเสพติดแจกให้ นักเรียนและผู้ปกครอง 
     1.4 ออกเสียงตามสายเป็นประจำ เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของยาเสพติด รวมทั้งเชิญชวนให้สมัครสมาชิก TO BE NUMBER ONE 
     1.5 รับสมัครอาสาสมัครแกนนำนักเรียน/ประชาชนที่เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้สอดส่องและเป็นแกนนำ “เพื่อนเตือนเพื่อน” 
     1.6 จัดกลุ่ม /ชมรมต่างๆ ในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ดนตรี กีฬา ชักชวนให้เพื่อนๆได้สนใจและร่วมกิจกรรม 
     1.7 ประกวดคำขวัญต่อต้านยาเสพติด และนำผลงานที่ได้รับรางวัลเสนอให้กับสถานศึกษาหรือจังหวัดเพื่อส่งเข้าประกวดในระดับเขตและประเทศ 
     1.8 ชั่วโมง Home room ในสถานศึกษา มีการแลกเปลี่ยนวิธีการในการหลีกเลี่ยงยาเสพติดและวิธีปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน 
     1.9 เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น 
     1.10 จัดทำจุลสารของชมรม TO BE NUMBER ONE 
     1.11 เสริมสร้างขวัญกำลังใจ เช่น นิมนต์พระมาสอนธรรมะอย่างสม่ำเสมอ ฝึกปฏิบัติเรื่องสมาธิ เป็นต้น 
     1.12 เข้าค่ายกิจกรรมของโรงเรียน เช่น ลูกเสือ หรือค่ายต่อต้าน ยาเสพติด เป็นต้น 

2. สร้างความเข้าใจและยอมรับผู้มีปัญหายาเสพติด 
     2.1 ไม่รังเกียจหรือแบ่งแยกผู้ที่ติดยาเสพติด ให้กำลังใจและชักชวนให้ไปรับการรักษา 
     2.2 ให้ข้อมูลสถานบริการแก่ผู้ประสงค์ขอรับการรักษาจากโครงการ TO BE NUMBER ONE “ใครติดยายกมือขึ้น” 
     2.3 จัดแกนนำอาสาสมัครสอดส่องดูแลไม่ให้มีการใช้ยาเสพติด 
     2.4 จัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นของสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ติดยาเสพติด 
     2.5 ให้ข้อมูลแก่ครู อาจารย์ หรือผู้นำชุมชนเมื่อพบเห็นผู้ใช้ยาเสพติด 
     2.6 จัดระบบการดูแลและช่วยเหลือผู้ที่ติดยาเสพติดในสถานศึกษาหรือในชุมชนของตนเองในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน 
     2.7 ขอความช่วยเหลือจากครู อาจารย์ หรือพ่อแม่ผู้ปกครองเมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองได้ 
     2.8 จัดแกนนำอาสาสมัครในการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้ผู้ที่ติดยาเสพติด 
     2.9 จัดให้มีบริการให้คำปรึกษาปัญหาต่าง ๆ แก่สมาชิกชมรม โดยผู้เชี่ยวชาญ 
     2.10 จัดให้มีบริการแนะนำด้านการฝึกอาชีพและจัดหางาน 

3. ขอรับการสนับสนุนองค์ความรู้/ วิทยากร ในเรื่องการป้องกันยาเสพติด 
     3.1 ให้ความรู้เรื่องทักษะชีวิตในการจัดการกับปัญหาในชั่วโมง Home room ในสถานศึกษา หรือเสียงตามสายในชุมชน 
     3.2 จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ วิธีการ และทักษะในการปฏิเสธ ศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น จากโทรศัพท์ 1667 และ www.dmh.moph.go.th/to_be_no.1 
     3.3 ขอความอนุเคราะห์วิทยากร หนังสือ เอกสารเรื่องยาเสพติดจากกรมสุขภาพจิต หรือแหล่งต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน 
     3.4 ขอข้อมูลวิทยากรจากกระทรวงแรงงานในด้านการฝึกอาชีพ/พัฒนาฝีมือ และการบริการ 
     3.5 ขอข้อมูลวิทยากรจากทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อให้บริการ แนะแนวในการศึกษาต่อ ฯลฯ 

ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (TO BE NUMBER ONEFRIEND CORNER)
การตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น เป็นกิจกรรมหนึ่งของชมรม TO BENUMBER ONE ซึ่งแกนนำอาสาสมัคร (เยาวชน) ประจำศูนย์จะเป็นผู้บริหารจัดการ จัดกิจกรรม และให้บริการต่างๆ ภายในศูนย์ เป็นกิจกรรมซึ่งจัดบริการให้กับสมาชิก TO BE NUMBER ONE ที่เข้ามาในศูนย์เท่านั้น หากกิจกรรมใดก็ตามที่จัดขึ้นนอกศูนย์ จะดำเนินการโดยชมรม TO BE NUMBER ONEซึ่งบริหารจัดการโดยคณะกรรมการชมรมTO BE NUMBER ONE

เพลงทูบีนัมเบอร์วัน
ทูบีนัมเบอร์วัน เป็นเพลงประจำโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ทรงขับโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และซึ่งเป็นเพลงแรกประจำโครงการ และได้มีเพลงใหม่ออกมาซึ่งก็คือเพลง เก่งและดี To Be Number One ทรงขับร้องโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งเป็นเพลงหลักของโครงการอีกเพลงหนึ่ง

เว็บโครงการทูบีนัมเบอร์วัน : [http://www.tobenumber1.net/]
เรียบเรียงจาก
1. http://th.wikipedia.org/wiki/โครงการทูบีนัมเบอร์วัน
2. http://www.tobenumber1.net/ex1.asp



Leave a Comment