คุณภาพของผลงานทางวิชาการ และการประเมินให้คะแนนผลงานทางวิชาการที่ยื่นขอวิทยฐานะ

ผลงานทางวิชาการ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จัดทำขึ้นเพื่อยื่นขอรับการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ วิทยฐานะเชี่ยวชาญ วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ จะถูกคณะกรรมการประเมินในด้านคุณภาพและประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ โดยลักษณะของผลงานทางวิชาการในด้านคุณภาพและประโยชน์ผลงานทางวิชาการ มีดังนี้

ลักษณะสำคัญของผลงานทางวิชาการ
1.  ด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ
      1.1  รูปแบบ ผลงานทางวิชาการต้องมีรูปแบบถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่นผลงานประเภทงานวิจัย จะต้องถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย บทเรียนสำเร็จรูป ต้องจัดทำให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทเรียนสำเร็จรูปประเภทนั้น ๆ รายงานการประเมินโครงการต้องจัดทำให้ถูกต้องตามรูปแบบของรายงานการประเมินโครงการ และรายงานการพัฒนา นวัตรกรรมต้องจัดทำให้ถูกต้องตามรูปแบบของการรายงาน
      1.2  เนื้อหาสาระ ผลงานทางวิชาการต้องมีเนื้อหาสาระถูกต้องตามหลักวิชาครบถ้วน  ทันสมัย มีการค้นคว้าอ้างอิงถูกต้องเชื่อถือได้ เรียบเรียงเนื้อหาได้ถูกต้องตามหลักภาษา และจัดเรียงหัวข้อเนื้อหาเป็นระบบเดียวกัน
     1.3  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการต้องมีส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเนื้อหาสาระและมีรูปแบบใหม่  ไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ
     1.4  การอ้างอิง ผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ต้องมีการอ้างอิงจัดทำเชิงอรรถ  บรรณานุกรมได้ถูกต้องและเป็นรูปแบบเดียวกัน
     1.5  การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม ผลงานทางวิชาการต้องมีการจัดพิมพ์ในสวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการ  เช่นการพิมพ์หัวข้อ  การย่อหน้า  การจัดพิมพ์ตรายาง  การพิมพ์เชิงอรรถ  บรรณานุกรม  การจัดทำรูปเล่มถูกต้อง มีปกหน้า  ปกหลัง  ใบรองปก  หน้าปกใน  คำนำ  สารบัญ  บรรณานุกรม ภาคผนวก เป็นต้น

2.  ด้านประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
     ผลงานทางวิชาการควรแสดงให้เห็นถึงการจัดทำ การทดลองใช้ การนำไปใช้จริง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นและผลจากการนำไปใช้ว่ามีประโยชน์มากน้อยเพียงใด รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่จัดทำด้วย

แนวทางการประเมินผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยด้านคุณภาพ  และประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ ดังนี้
1.  ด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ
        1.1  ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ  พิจารณาจาก  ความถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วนตามหลักวิชาการและทันสมัย มีการค้นคว้า อ้างอิงถูกต้องเชื่อถือได้และเรียบเรียงเนื้อหาได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา จัดเรียงหัวข้อเนื้อหาเป็นระบบเดียวกัน
        1.2  ความถูกต้องตามหลักวิชาการ  พิจารณาจาก  รูปแบบ ขั้นตอนในการนำเสนอต้องถูกต้องตามหลักวิชาการของผลงานประเภทนั้น ๆ
        1.3  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  พิจารณาจาก  การแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ผลงานใหม่ หรือเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ด้วยเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ที่ก่อให้เกิดนวัตรกรรมและผลงานนั้นมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา

2.  ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ
        2.1  ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพ  พิจารณาจาก เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพ สามารถเป็นแบบอย่างใช้เป็นแหล่งอ้างอิง หรือเป็นแบบในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
        2.2  ประโยชน์ต่อผู้เรียน  ครู บุคลากรทางการศึกษา หน่วยงานการศึกษา การจัดการศึกษา และชุมชน  พิจารณาจาก ผลที่ปรากฏต่อผู้เรียน  ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษาและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
        2.3  การเผยแพร่ในวงวิชาการ  พิจารณาจาก  มีการนำผลงานไปเผยแพร่ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น จัดพิมพ์ในรายงานประจำปี  เอกสาร  วารสาร  การนำเสนอต่อที่ประชุม  การจัดนิทรรศการ  การเผยแพร่ทางวิทยุ  โทรทัศน์  หรือ  Web Site

องค์ประกอบและเกณฑ์การให้คะแนน การประเมินผลงานทางวิชาการ มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน  โดยมีองค์ประกอบและเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
     1.  คุณภาพของผลงานทางวิชาการ  (50  คะแนน)
           1.1  ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ   20           คะแนน
           1.2  ความถูกต้องตามหลักวิชาการ   15           คะแนน
           1.3  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์              10           คะแนน
           1.4  การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม      5           คะแนน
     2.  ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ  (50  คะแนน)
           2.1  ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพ          15           คะแนน
           2.2  ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาการจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษาและชุมชน         25           คะแนน
           2.3  การเผยแพร่ในวงวิชาการ                                                         10           คะแนน

 เกณฑ์การตัดสิน

 

องค์ประกอบ

วิทยฐานะ

ชำนาญการพิเศษ

เชี่ยวชาญ

เชี่ยวชาญพิเศษ

ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

70 %

75 %

80 %

 

(เฉลี่ย)

(เฉลี่ย)

(เฉลี่ย)

     –  ผลการปฏิบัติงาน

65 %

70 %

75 %

     –  ผลงานทางวิชาการ

65 %

70 %

75 %

กรณี ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. , สอศ.  แล้วแต่กรณี มีมติไม่อนุมัติ  ให้แจ้งข้อสังเกตหรือเหตุผลให้ผู้เสนอขอทราบ

 ที่มา : คู่มือการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ 



Leave a Comment