Airbrush คืออะไร แอร์บรัช งานศิลป์ลงสีบนวัสดุหลากชนิด งานฝีมือทำเงินของคนมือศิลป์

สารภาพตามตรงว่า เพิ่งรู้จักคำว่า แอร์บรัช [Airbrush] ตอนอยู่ที่นิวซีแลนด์ นี่ล่ะครับ เพราะบ้านหลังที่สองที่ผมพักอยู่นี้ David Müller เมทชาวเยอรมัน เขาทำงานฝีมือทางด้าน แอร์บรัช เป็นงานอดิเรก ผลงานของเขาเห็นได้จากรถที่เขาขับ ทั้งด้านข้างและกระโปรงหน้ารถ เป็นรูป Predator และ Alien นอกจากนี้ยังรับงานทำแอร์บรัช บนมอเตร์ไซค์ หมวกกันน็อก โน๊ตบุ๊ก หรือบนวัสดุต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทั้งผิวเรียบและผิวโค้ง ดังเช่น ที่เป็นเหมือนกระป๋องน้ำอัดลม (ในภาพ) อันนี้ทำเสร็จแล้วจะไปอยู่ที่บาร์แห่งหนึ่งในเมือง Hamilton

airbrush1
งานฝีมือ แอร์บรัช [Airbrush] ในเมืองไทยก็มีอยู่บ้าง ความสนใจของคนต่อภาพศิลป์เหล่านี้น่าจะมีเพิ่มมากขึ้น จึงอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งของการทำเงิน ของคนที่มีหัวศิลป์และมีทักษะทางการเขียนภาพวาดภาพ โดยเปลี่ยนจากการวาดภาพลงบนกระดาษ มาเป็นการวาดและลงสีลงบนวัสดุหลากชนิด ขอแนะนำให้ชมฝีมือหนุ่มเยอรมันคนนี้ก่อน เขาบอกผมว่า สำหรับที่ประเทศนิวซีแลนด์ เขาเป็นมือสมัครเล่นมือหนึ่งของงานแอร์บรัชเลยทีเดียว (เพราะเขามีงานประจำ อันนี้แค่งานอดิเรก) ท่านที่สนใจต้องเข้าไปชมผลงานของ David Müller ได้ที่ : [http://pacificairbrush.co.nz/] แล้วเพื่อนๆ จะรู้จักและหลงรัก แอร์บรัชมากขึ้น

airbrush2
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Air brush
รูปทรงของ Air brush

ab-triggerรูปทรงที่นิยมใช้กันมี 2 แบบ คือ แบบปืน (Spray gun) และ แบบปากกา
1. แบบปืน รูปร่างหน้าตาเหมือนปืนฉีดน้ำหรือปืนยิงกาว
     ข้อดี จับถนัดมือ, พ่นสีง่าย
     ข้อเสีย ถอดประกอบไม่ได้ยากต่อการบำรุงรักษา, มีรุ่นให้เลือกน้อย, ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักของเส้นได้
2. แบบปากกา มีลักษณะคล้ายปากกา ทำให้สะดวกในการวาดหรือลากเส้นโค้ง
     ข้อดี ใช้งานได้หลากหลายกว่า เป็นรูปทรงมาตรฐาน
     ข้อเสีย ถ้ายังไม่ชินจะจับไม่ถนัดมือ งานออกมาไม่ดีพอและอาจจะทำให้ปวดนิ้ว (แต่เมื่อทำนานไปก็ชิน)

จังหวะการกด Air brush

ab-action
จังหวะของการกดไกเพื่อพ่นสี มี 2 แบบคือ หนึ่งจังหวะและสองจังหวะ
1. หนึ่งจังหวะ (Single action)  แค่กดลงไปตรงๆสีและลมจะออกมาพร้อมๆกันเลย ลักษณะของไกจะไม่มีร่องให้โยกมาด้านหลัง
     ข้อดี กดทีเดียวสีออกเลย, ไม่ต้องควบคุมน้ำหนักการกดของนิ้ว
     ข้อเสีย ไม่สามารถกำหนดขนาดเส้นได้จากการกดไก (ต้องปรับที่ปลายด้าม)
2. สองจังหวะ (Dual/Double action) กดเพื่อปล่อยลมแล้วโยกเพื่อปล่อยสี ยิ่งโยกมากสีก็ยิ่งออกเป็นวงกว้างขึ้น ไกมักจะมีลักษณะเอียงและจะมีร่องไปทางด้านหลัง
     ข้อดี ควบคุมขนาดเส้นได้ง่าย, กดจังหวะเดียวเพื่อเป่าลมเปล่าๆออกมาได้
     ข้อเสีย ต้องคอยกังวลเรื่อง น้ำหนักของนิ้ว, มีระบบสปริงที่ซับซ้อนกว่าทำให้มีโอกาสเกิดการติดขัดสูงกว่า

แหล่งเก็บสีของ Air brush
ab-tank
การเก็บสีของ Air brush แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 แบบคือ ด้านบน ด้านข้าง และด้านล่าง
1. ด้านบน หรือ กรวยบน เหมาะสำหรับการทำสีสำหรับชิ้นงานขนาดเล็ก เช่น พวกพลาสติกโมเดลต่างๆ
     ข้อดี น้ำหนักเบา, ทำความสะอาดง่าย, ราคาถูก
     ข้อเสีย ใส่สีได้ในปริมาณจำกัด, องศาในการทำงานจำกัด
2. ด้านข้าง หรือ กรวยข้าง ประโยชน์คือการ paint เพดาน เพราะกรวยข้างจะปรับองศาได้ไม่จำกัด
     ข้อดี ทำงานได้หลากหลายพื้นที่มากกว่า
     ข้อเสีย ใส่สีได้ในปริมาณจำกัด, ต้องระวังเรื่องข้อต่อกรวยสี
3. ด้านล่าง หรือ แบบดูดจากขวด เหมาะกับงานที่ใช้หลายสีหรือใช้สีปริมาณมาก สามารถเปลี่ยนสีโดยการเปลี่ยนขวดสีได้ทันที
     ข้อดี ใส่สีได้ปริมาณมากกว่า, เปลี่ยนสีได้สะดวก
     ข้อเสีย ขวดจะถูกยึดด้วยแรงเสียดทานของหลอดและแอร์บรัชเท่านั้นถ้าใส่สีมากไปหรือขยับมากไปอาจจะทำให้ขวดตกจากแอร์บรัชได้ ถ้าตกบ่อยจะส่งผลให้หลวมได้

เว็บรับสอนทำแอร์บรัช ที่ประเทศไทย : http://www.thaistudiogolf.com/course_of_instruction.php
เรียบเรียงความรู้จาก : http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=614.0

ขอบคุณภาพประกอบจาก
1. http://i158.photobucket.com/albums/t87/shishi_TG/Airbrush/01_Trigger.jpg
2. http://i158.photobucket.com/albums/t87/shishi_TG/Airbrush/02_Action.jpg
3. http://i158.photobucket.com/albums/t87/shishi_TG/Airbrush/03_Tank.jpg



Leave a Comment