ความหมายของธรรมาธิปไตย และสังคมธรรมาธิปไตย หลักธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ในทุกระดับของการปกครอง

ธรรมาธิปไตย หมายถึง การยึดถือหลักการ หลักเหตุผล หลักความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมเป็นประมาณในการบริหารจัดการต่างๆ คือ จะทำอะไรก็ยึดถือธรรมเป็นหลัก ละเว้นการยึดถือตนและกระแสเสียงคนส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกธรรมไม่เป็นธรรม “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้ถือธรรมะคือ ความถูกต้องตามเหตุผลเป็นประมาณ ที่เรียกว่า ธรรมาธิปไตย ไม่สอนให้ถือตนเองเป็นใหญ่หลักคำสอนเรื่องผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า คำสอนเรื่องอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาและการตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ของพระพุทธเจ้า ก็เป็นการสอนแบบธรรมาธิปไตยนี้” นับว่าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่กว้างที่ครอบคลุมถึงคุณงาม ความดี นับว่าทันสมัยและทรงคุณค่าและสูงในคุณค่า รวมทั้งหลักเรื่องการทำความดีเพราะเห็นแก่ความดี

ในสังคมปัจจุบันนี้มีความสับสนวุ่นวายโดยเฉพาะสังคมประเทศไทย ในอดีตนั้นเป็นสังคมที่ เอื้ออาทรเป็นสังคมน่าอยู่ หรือสยามเมืองยิ้มนั้นเอง ผู้คนต่างยิ้มแย้มแจ่มใจ มีน้ำจิตน้ำใจ เป็นสังคมที่มีความ สามัคคีมีความรักไม่เห็นแก่ตัว มีสถาบันหลักคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมน้ำใจของคน ในชาติ ปัจจุบันนี้สังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง ความคิดความเห็นต่างๆ ของคนหนุ่มคนสาวมีความคิดเห็นที่หลากหลายเมือความคิดที่ต่างกันก็ มีการแบ่งกลุ่มแบ่งสีแตกแยกความคิดทำให้สังคมไทยขาดความปรองดอง ทั้งนี้ก็เพราะสังคมปัจจุบันขาดหลักธรรมซึ่งมูลฐานของความเป็นใหญ่หรืออธิปไตย 3 อย่างที่แสดง ในหลักพระพุทธศาสนา คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตยและธรรมาธิปไตย

อัตตาธิปไตย คือ ถือตนเป็นใหญ่หรือประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง หากทำอะไรก็ต้องการให้ ประกาศชื่อเสียงเป็นบุคคลที่ทำอะไรเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งและก็ยังดีที่ว่าเป็นบันไดขั้นแรกของการก้าว ขึ้นสู่ความเป็นผู้มีจิตใจสูงขึ้น

โลกาธิปไตย คือ ถือโลกเป็นใหญ่หรือโลกเป็นประมาณ สุดแต่คนอื่นหรือส่วนมากเขาว่า อย่างไรก็ถือว่าอย่างนั้น อันนี้เองที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเพราะไม่รู้จักประมาณตนนั้นเอง การกระทำใดๆไม่ ดูฐานะของตนเอง บางครั้งก็ก่อให้เกิดความเดือดร้อน

ธรรมาธิปไตย คือ ถือธรรมเป็นใหญ่ คำนึ่งถึงความถูกต้องความสมควร ถือได้ว่าการ ทำความดีก็เพราะเห็นแก่ความดี ทำความดีเพราะเห็นแก่ความดี ความถูกต้องไม่ใช้ทำด้วยหวังอะไรตอบแทน หลักธรรมาธิปไตยพระพุทธศาสนาสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นอย่างดี เพราะหลักธรรมาธิปไตย อาจนำไปใช้ได้ ทุกกรณีและสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันที่ทุกผู้คนนั้นต้องคำนึงถึงหลัก ธรรมาธิปไตย เมื่อสังคมไทยมีความรัก ความสามัคคีแล้วก็เกิดความปรองดองของคนในชาติ

ธรรมาธิปไตย คืออะไร ธรรมาธิปไตยคือ การอำนวยความยุติธรรมและการพิจารณาว่า อะไรผิดอะไรถูก ในการอำนวยความยุติธรรมคือถือธรรมเป็นใหญ่โดยเฉพาะผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ในหน่วยงานมีธรรมาธิปไตยแล้ว ก็จะไม่ตกอยู่ภายใต้อคติหรือความลำเอียง 4 ประการคือลำเอียงเพราะรักหรือชอบกัน เรียกฉันทาคติ 1 ลำเอียงเพราะชังเรียกว่าโทสาคติ 1 ลำเอียงเพราะหลงหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์เรียกโมหาคติ 1 กับข้อสุดท้ายลำเอียงเพราะกลัวเรียกภยาคติ

การพิจารณาว่าอะไรถูกอะไรผิดนั้นต้องฟังด้วยเหตุและผล การวินิจฉัยเรืองราวต่างๆ ที่จะ นำมาเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ หรือรับไว้ดำเนินชีวิตที่เพื่อร่มเย็นเป็นสุขหรือก่อให้เกิดความรักความสามัคคีเกิด ความปรองดองของคนในชาติเมือสังคมนั้นๆมีหลักธรรมยึดถือหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาถือธรรมะ คือความถูกต้องแล้วสังคมนั้นก็กลับร่มเย็นเป็นสุขเป็นสังคมน่าอยู่ น่าอาศัย

สังคมธรรมาธิปไตย หมายถึง การหาผู้นำที่มีการยึดถือ เหตุผล ควรมจริง และความถูกต้อง อย่างเป็นธรรมในการบริหารจัดการต่างๆ
สังคมทุกระดับ ย่อมมีผู้นำและสมาชิกสังคมในระดับต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกัน

คุณสมบัติของผู้นำ การคัดสรรผู้นำ มีความสำคัญมาก อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของสมาชิกสังคมนั้น ๆ ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ผู้นำได้มาจากการเลือกตั้งโดยพลเมือง จะมีผู้นำที่ดีมีศีลธรรม ก็ต้องมาจากพลเมืองที่ดีมีศีลธรรมสนับสนุนให้คะแนนเสียงเลือกตั้งเขาขึ้นมา สังคมธรรมาธิปไตยจึงชี้ขาดอยู่ที่พลเมืองนั่นเอง

การสร้างสังคมธรรมาธิปไตย คนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงสังคมระดับประเทศชาติ เมื่อนึกถึงภารกิจใหญ่โตระดับนั้น บางคนอาจเห็นเป็นเรื่องใหญ่เกินกำลัง เราจึงอยากให้นึกถึงสังคมระดับเล็ก ๆ ก่อน เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวเรา ในตรอกเรา ในชุมชนหรือหมู่บ้านเรา ในตำบลเรา ฯ มาช่วยคิดสร้างสังคมธรรมาธิปไตยระดับใกล้ตัวของเรากันก่อน แล้วเมื่อรวมกันเข้าเป็นสังคมระดับใหญ่ขึ้น มันก็จะเห็นผลความก้าวหน้า ผลความสำเร็จ เราก็จะมีกำลังใจสร้างสรรค์กันต่อไปมากขึ้น

การสร้างสังคมธรรมาธิปไตย ไม่ใช่สำคัญอยู่ที่การพัฒนาหรือการสร้างผู้นำเท่านั้น สังคมไม่ว่าระดับใดก็ตาม ไม่มีทางจะได้ผู้นำที่ดีจริง ๆ ถ้าหากสมาชิกส่วนข้างมากของสังคมนั้น ๆ เป็นคนไม่ดี

เนื้อหาการสร้างสังคมธรรมาธิปไตย ที่สำคัญก็คือการสร้างสมาชิกสังคมให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต มีสติปัญญา ตัดสินความดีความชั่วคนดีคนชั่วได้ เมื่อมองในสังคมระดับประเทศ คือการสร้าง “พลเมืองดี” ที่มีสติปัญญา แยกแยะตัดสินความดีความชั่วคนดีคนชั่วได้นั่นเอง

ผู้นำทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาจากการเลือกตั้ง คนที่ต้องการเป็นผู้นำทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงจำเป็นต้องเข้าไปทำงานการเมือง แต่การทำงานการเมืองนั้น ง่ายที่จะถูกหล่อหลอมให้กลายเป็น “นักเลือกตั้ง” ที่ด้อยคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำการสร้างสังคมธรรมาธิปไตยไป การพัฒนา การสร้างผู้นำที่ดี เพื่อให้พลเมืองคัดสรรขึ้นมาเป็นผู้นำสังคมระดับประเทศนั้นสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นปัญหาเร่งด่วน

แต่การที่จะคัดสรรได้ผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องอาศัยเสียงสวรรค์จากพลเมืองผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องสร้าง ต้องพัฒนาพลเมืองไทย ให้เป็น “พลเมืองดี” รู้จักเลือกผู้นำที่ดีในการสร้างสังคมธรรมาธิปไตยขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศ จึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการพัฒนาผู้นำเสียอีก.

ที่มา : Google site ของ Burapa Kieochan

นวัตกรรมประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ ปี 2562 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา : เรื่อง เจริญธรรมาธิปไตย หลอมเยาวชนไทยเข้มแข็ง



Leave a Comment