งานวิจัยดีมีคุณภาพ ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์

1. ชื่องานวิจัย       การศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
2. ชื่อผู้ทำวิจัย      นายศักดิ์อนันต์   อนันตสุข    
3. ปีที่งานวิจัยสำเร็จ : พ.ศ. 2548
4. บทคัดย่อ : ภาษาไทย
          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2547 ที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์  ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ทั้งหมด 5 โรงเรียน จำนวน 248 คน จำแนกเป็นชาย 88 คน และหญิง 160 คน ตัวแปรอิสระที่นำมาศึกษาในรูปที่เป็นสาเหตุ ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านคุณลักษณะของผู้เรียน ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ นิสัยในการเรียน เวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ องค์ประกอบด้านครอบครัว ได้แก่ การส่งเสริมและช่วยเหลือด้านการเรียนของบิดามารดา และองค์ประกอบด้านโรงเรียน ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสำรวจนิสัยในการเรียนและสำรวจเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม แบบสำรวจการส่งเสริมและช่วยเหลือด้านการเรียนของบิดามารดา  และแบบสำรวจพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS  FOR WINDOWS (Statistical Package for the Social Science for Windows) ผลการวิจัยพบว่า
          1.กลุ่มตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ตามสมมติฐาน อธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ได้ร้อยละ 88.4 (R = .940) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ 1.167
          2.กลุ่มตัวแปรอิสระในแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ที่ปรับปรุงใหม่ เป็นตัวแปรสาเหตุและมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ได้แก่ นิสัยในการเรียน( b = .446, p < 0.05) และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ( b = .518,     p < 0.05) และ โดยที่กลุ่มตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปรนี้เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ได้ร้อยละ 86.8 (R = .932) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ เท่ากับ 1.224

5. บทคัดย่อ : ภาษาอังกฤษ

          The purpose of this research was to study causal variables affecting learning achievement in Physics. The sample consisted of  Mathayomsuksa IV students in Sangkha district, Surin province during the academic year 2004, 88 males and 160 females. The independent variables were students’ characteristics, parental involvements and school involvements. The students’ characteristics were fundamental knowledge, achievement motivation, Physics attitude, study habit, additional study time, critical thinking,science process skills and numerical scholastic aptitude. The parental involvement were parental support and parental expectation. The school involvement were student-centered teaching. The dependent variable was the learning achievement in Physics. The research instruments were an achievement test in Physics, a critical thinking test, a science process skills test, a numerical  scholastic aptitude test, a Physics attitude survey, an achievement motivation survey, a study habit survey, an additional study time survey, a parental support survey and a student-centered teaching survey. The data were analyzed using Path Analysis Technique. The research results could be summarized as follows:
          1. The variance of all independent variables in the casual relationships model accounted for the  variance of learning achievement in Physics was 88.4 % (R = .940). The Standard error of estimate was 1.167.
          2. The independent variables in the newly improved casual relationships model of learning achievement in Physics, which were the casual variables and had direct effect on learning achievement in Physics were study habit ( b = .446, p < 0.05) and critical thinking ( b = .518, p < 0.05). The variance of these predictors accounted for the variance of  learning achievement in Physics was 86.8%(R = .932). The Standard error of estimate was 1.224.

6. คุณภาพของงานวิจัยโล่เกียรติคุณ ครูผู้ผลิตผลวิจัยดี มีคุณภาพประจำปี 2549 จากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
rublo1
หมายเหตุ : ดาวน์โหลดเอกสาร
1. เค้าโครงการวิจัย >> [เค้าโครงวิจัยฉบับขอทุน สสวท.]
2. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (รายงานการวิจัย) >> [บทสรุปสำหรับผู้บริหาร]
ผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ติดต่อเจ้าของผลงาน :: anantasook@gmail.com



Leave a Comment