[ข้อมูล] 1 เมษายน วันโกหกโลก (April Fool’s Day) ประวัติวันโกหกโลก ที่มาวันเมษาหน้าโง่ 1 เมษายน

1 เมษายนของทุกปี คือ วันโกหกโลก หรือ April Fool’s Day เป็นวันที่หลายคนพร้อมใจกันสร้างเรื่องปั่นๆ ให้คนตกใจเล่น สำหรับในยุคดิจิทัลก็เพื่อสร้างไวรัลป่วนๆ เป็นกระแสชวนฮาในโลกโซเชียล 

ประวัติที่มาของวันโกหกโลก (April Fool’s Day ; วันเมษาหน้าโง่)

มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นมาของวันโกหก April Fool’s Day บ้างก็ระบุว่า เริ่มจากพวกโรมันโบราณมีเทศกาลที่เรียกว่า “Cerealia” จัดในช่วงต้นเดือนเมษายน เรื่องเล่านี้มีอยู่ว่า เทพเจ้าชื่อ Ceres ทรงได้ยินเสียงสะท้อนของพระธิดา Proserpina ตะโกนมาว่าเธอถูกจับตัวไปอยู่ใต้ผืนดินโดยเทพพลูโต Ceres จึงตามเสียงลูกสาวไป และได้พบความจริงที่ว่าการตามเสียงสะท้อนเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เหมือนว่าพระองค์ทรงถูกหลอกนั่นเอง

ประวัติที่มาของ วันโกหกโลก มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในตำนาน Nun’s Priest’s Tale ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1564 เป็นเรื่องเล่าที่เกิดขึ้นในวันครบรอบงานหมั้นระหว่าง พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ กับ เจ้าหญิงแอนน์แห่งโบฮีเมีย สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ เกี่ยวกับสุนัขจิ้งจอกที่ตบตาไก่ตัวผู้ที่หลงตัวเอง

ต่อมาในยุคกลาง การเฉลิมฉลองของชาวยุโรปส่วนมากนี้จัดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี บางแห่งสิ้นสุดในวันที่ 1 เมษายน มีการอ้างถึงวันโกหกโลก (April Fool’s Day) ในงานเขียนของกวี ปี ค.ศ.1563 เกี่ยวกับการส่งคนรับใช้ไปทำภารกิจที่โง่เขลาในวันที่ 1 เมษายน จากบทกวีแสดงให้เห็นว่า การเล่น April Fool’s Day เป็นที่นิยมในชาวบริเตนใหญ่

ขณะที่ ประวัติวันโกหกโลก (April Fool’s Day) ในเนเธอร์แลนด์กลับมีที่มาแตกต่างออกไป โดยมีบันทึกไว้เมื่อปี ค.ศ.1572 เกี่ยวกับชัยชนะของชาวดัตช์ในการยึดเมืองแห่งหนึ่ง เกิดเป็นสุภาษิตว่า Op 1 april verloor Alva zijn bril แปลว่า ในวันที่ 1 เมษายน Alva ทำแว่นตาหาย อันเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการยึดเมืองบรีเอลล์ ซึ่งดยุคอัลวาเรซ เด โตเลโด (Álvarez de Toledo) ของสเปน ต้องปราชัย

ดังนั้น ที่มาของ วันโกหกโลก (April Fool’s Day) จึงมีประวัติยาวนานถึง 460 ปี ที่ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลก และเป็นที่รู้กันว่าเมื่อถึงวันที่ 1 เมษายน มักจะมีการแกล้งกัน หรือโกหกสร้างเรื่องป่วนๆ มาให้ชวนสงสัยว่าเรื่องจริงหรือหลอก (และส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง) ก็แทบไม่ค่อยมีใครโกรธ และแม้จะผ่านมาเกือบ 500 ปี วันโกหกโลก (April Fool’s Day) ก็สามารถลื่นไหลไปตามกระแสแห่งยุคได้โดยไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา

ที่มาภาพ : https://y20india.in/wp-content/uploads/2024/03/April-Fool-Jokes-e1711791065344.jpg



Leave a Comment