ความรู้เบื้องต้นของการผลิตรายการโทรทัศน์ ขั้นตอนการผลิตรายการ เทคนิคการถ่ายทำและการเขียนสคริปต์รายการ

Filmingความรู้เบื้องต้นของการผลิตรายการโทรทัศน์

ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เคยกล่าวว่า “ภาพยนตร์” เป็นศิลปะแขนงที่ 7 ที่รวมเอา ศิลปะทั้ง 6 แขนงวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี ละคร ไว้ด้วยกัน โทรทัศน์ ก็คือการต่อยอดของภาพยนตร์ ที่อาศัยวิทยาการและนวัตกรรมสมัยใหม่ เข้ามาเป็นเครื่องมือ แทนฟิล์มภาพยนตร์นั่นเอง

ความหมายและบทบาทหน้าที่ต่างๆของทีมผลิตรายการ

1. ผู้อำนวยการผลิต Excutive Producer เป็นผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่ การจัดร่าง จัดทำ ควบคุมงบประมาณการผลิต เป็นแหล่งสนับสนุนด้านการหางบประมาณ และดูแลรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ถ้าในระดับองค์กร มีตำแหน่งเทียบเท่ากับ CEO
2. ผู้ควบคุมการผลิต Producer ดูแล ควบคุม และบริหารการผลิตรายการ ในทุกด้าน เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดในการผลิตรายการโทรทัศน์
3. ผู้ช่วยผู้ควบคุมการผลิต Co-producer เป็นผู้ช่วยของProducer ในด้านต่างๆ
4. ผู้สร้างสรรค์รายการ Creative พัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอรายการให้น่าสนใจ
5. Script-writer ร้อยเรียงเนื้อหา ผลิตบทสำหรับพิธีกร และรายการ
6. ประสานงาน Co-ordinator มีหน้าที่ติดต่อประสานงาน ทั้งภายนอก (แขกรับเชิญ / สถานที่ / อาหาร ฯลฯ) และภายใน (ฝ่ายต่างๆ) ให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและสัมพันธ์กัน
7. ศิลปกรรม ดูแล ผลิตและออกแบบฉาก และบรรยากาศให้เป็นไปตามเนื้อหาในรายการ
8. ช่างภาพ Cameraman
9. ผู้กำกับเทคนิค ( Technical Director )
10. ช่างกล้อง ( Camera Operators )
11. ช่างเทคนิคด้านแสง ( Lighting Technician) หรือ ผู้กำกับแสง
12. ช่างเทคนิคด้านภาพ ( Video Engineer ) หรือ ผู้กำกับภาพ
13. ช่างเทคนิคด้านเสียง ( Audio Engineer ) หรือผู้กำกับเสียง
14. ช่างเทคนิคผู้ควบคุมการตัดต่อ ( Videotape Editor )
15. ผู้ช่วยประสานงานการผลิต ( Production Assistant )
16. ผู้กำกับเวที ( Floor or Stage Manager )

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์

ปัจจัย และองค์ประกอบที่จะต้องคำนึงทุกครั้ง ในกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ (4 M + 1 T)

– คน (MAN)
– อุปกรณ์ (MATERIAL)
– งบประมาณ (MONEY)
– การจัดการ (MANAGEMENT)
– เวลา (TIME)

หัวใจของการผลิตรายการ

1. เขียนบท
2. ถ่ายทำ
3. กำกับ
4. ตัดต่อ

ขั้นตอนการผลิตรายการ บันได 3 ขั้น ( 3 P )

1. Pre- Production ขั้นตอนการเตรียมงาน
2. Production ขั้นตอนการผลิตรายการ
3. Post-Production ขั้นตอนเรียบเรียงและลำดับรายการ ก่อนเป็นชิ้นงาน

ก. ขั้นเตรียมการ PRE-PRODUCTION

Scriptwriting1. วางแผน (Plan)
กำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะผลิต โดยยึดหลัก 5 W + 2H
– Who กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร / รายการตอบสนองคนกลุ่มไหน
– Why วัตถุประสงค์ในการผลิตรายการ
– What จะผลิตรายการอะไร xประเภทไหน
– Where กำหนดสถานที่ในการถ่ายทำรายการ (ในสตูดิโอ / ภายนอก ) ออกอากาศช่องทางไหน ตัดต่อที่ไหน
– When จะเริ่มผลิตเมื่อไหร่ / ออกอากาศเมื่อไหร่ เวลาไหน ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย / จะใช้เวลาในการผลิตเท่าใด
– How จะผลิตรายการอย่างไร กำหนดรายละเอียดในการผลิต
– How Much ใช้งบประมาณเท่าไหร่

2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา โดยค้นหาได้จาก
– เอกสาร
– บุคคล / แหล่งข่าว
– สถานที่จริงที่จะไปถ่ายทำ
แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ

3. จัดทำสคริปท์ / บท
เริ่มจากวางประเด็น (Concept) => แก่นของเรื่อง (Theme) => เค้าโครงเรื่อง (Plot / Treatment) => (Outline Script / Synopsis) => บทโทรทัศน์ (Full Script) => บทภาพ (Story board)

4. ประสานงาน กับส่วนต่างๆ ทั้งภายใน (ทีมงาน) และภายนอก (สถานที่ / พิธีกรหรือผู้แสดง)

ข. ขั้นตอนผลิตรายการ PRODUCTION

Technical_director
– การถ่ายทำในสตูดิโอ มีการติดตั้งฉาก ไฟ ตำแหน่งกล้อง อุปกรณ์ต่างๆ พร้อม
– การถ่ายทำนอกสตูดิโอ แบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 รูปแบบ

1. ENG (Electronic News Gethering) เป็นการถ่ายทำโดยใช้กล้องเดี่ยว เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความคล่องตัว ใช้ทีมงานในหารถ่ายทำไม่มากนัก เช่น ข่าว สารคดี

2. EFP (Electronic Field Product) เป็นการถ่ายทำ ที่ใช้กล้องมากกว่า 1 ตัว ต่อสายเคเบิ้ล จากกล้องไปสู่เครื่องผสมสัญญาณ (Mixer) เพื่อทำการเลือกภาพ ให้ได้ภาพที่หลากหลาย ได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะกับงานประเภท สนทนา สาธิต หรือภิปราย

3. Mobile Unit เป็นการถ่ายทำที่มีลักษณะคล้ายกับ EFP และการถ่ายทำในสตูดิโอ โดยอุกรณ์การควบคุม จะติดตั้งอยู่ในรถที่เรียก OB (Outsid Broadcasting) ส่วนใหญ่จะใช้ในงานที่มีการถ่ายทอดสดต่างๆ

การเตรียมการถ่ายทำ

– เตรียมและตรวจเช็คอุปกรณ์
– จัดเตรียมฉากและพื้นที่ที่จะใช้
– จัดเตรียมแสง และเสียง
– จัดวางตำแหน่งกล้อง
– ซักซ้อมทีมงานทุกฝ่าย
– ซ้อมการแสดง
– ถ่ายทำจริง ตามที่ได้ทำการซักซ้อมกับนักแสดงไว้แล้ว

**** ควรจะมีการถ่ายทำเผื่อไว้หลังจากถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อประโยชน์ในการตัดต่อ ในการเลือกภาพ หรือแทรกภาพ (Insert / Cut away) ****

ความเข้าใจเรื่องภาพ
A : ขนาดภาพ
1. Extreme Long Shot ( ELS) เป็นขนาดภาพที่ว้างมาก ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อแนะนำสถานที่ แสดงภาพรวมทั้งหมดของฉากนั้นๆ
2. Long Shot ( ELS) ภาพกว้าง ที่เจาะจงสถานที่มากขึ้น เพื่อแสดงความสำคัญของภาพ

3. Medium Shot (MS) ภาพระยะปานกลาง เป็นภาพวัตถุในระยะปานกลางเพื่อ ตัดฉากหลังและรายละเอียดอื่นๆที่ไม่จำเป็นออกไป และเน้นเรื่องราวที่เราต้องนำเสนอ รายละเอียดจะเห็นมากมากขึ้น เช่นภาพครึ่งตัว
4. Close Up (CU) ภาพระยะใกล้ เป็นภาพที่ตัดฉากหลังออกทั้ง เพื่อเน้นในสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ เช่น สีหน้า แผลที่ขา ที่มือกำลังเขียนหนังสือ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นภาพที่ใช้สื่อด้วยภาษากาย มากกว่าการสื่อด้วยการพูด
5. Extreme Close Up (ECU) ภาพใกล้มาก จะเน้นเจาะจง เฉพาะจุดที่สำคัญเท่านั้น เช่น เฉพาะแววตา ปาก เพื่อแสดงอารมณ์ของภาพ

B : มุมภาพ

ภาพมุมสูง / มุมกด – ให้ความรู้สึกกดดัน หรือตกตต่ำของตัวละคร
ภาพระดับสายตา – เป็นทั่วไป คล้ายแทนสายตาผู้ชม
ภาพมุมต่ำ / มุมเงย – ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่ มีพลัง อำนาจ
มุมภาพจะลักษณะที่ถ่าย

เพื่อบอกเนื้อหา และลักษณะภาพที่ถ่าย เช่น
– ภาพที่ถ่ายจากมุมสูง (aerial shot / bird’s eyes view)
– ภาพครึ่งอก (Bust Shot)
– ภาพเอียง (Canted Shot)
– ภาพถ่ายข้ามไหล่ (Cross Shot / X Shot)
– ภาพเต็มตัว (Full Shot)
– ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัว (Two Shot / Double Shot )

C : ลักษณะของภาพ
ภาพแบบออฟเจคตีฟ (Objective Shot) เป็นการถ่ายภาพในลักษณะแทนสายตาของผู้ชม
ภาพแบบซับเจคตีฟ (Subjective Shot) เป็นการถ่ายภาพในลักษณะกล้องจะตั้งอยู่ในตำแหน่งแทนสายตาของผู้แสดง

D : การเคลื่อนกล้อง
การแพนกล้อง (Panning)
หมายถึง การเคลื่อนที่ของกล้องตามแนวนอนไปทางซ้าย หรือไปทางขวา โดยกล้องยังอยู่ ณ จุดเดิม

E : การทิ้ลท์ (Tilting)
หมายถึง การเคลื่อนกล้องตามแนวดิ่ง จากล่างขึ้นบน และจากบนลงล่าง โดยกล้องยังอยู่ ณ จุดเดิม เพื่อให้เห็นวัตถุตามแนวตั้งเช่น ภาพอาคารสูง

F : การซูม (Zooming)
หมายถึง การเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ ในขณะที่ถ่ายภาพโดยการใช้เลนส์ซูม ทำให้มุมภาพ เปลี่ยนไป ถ้าเปลี่ยนความยาวโฟกัสสั้นลง มุมจะกว้าง แต่ถ้าปรับความยาวโฟกัสให้ยาว มุมภาพจะแคบลง ดังนั้นการซูมจะช่วยเปลี่ยนขนาดของวัตถุให้ใหญ่ขึ้น (Zoom In) หรือเปลี่ยนขนาดของวัตถุให้เล็กลง(Zoom Out)ได้โดยตั้งขาตั้งกล้องไม่ต้องขยับเปลี่ยนตำแหน่งกล้องไป

G : การดอลลี่ (Dolling)
หมายถึง การเคลื่อนกล้อง เข้าหาวัตถุ เรียกว่า Dolly in หรือการเคลื่อนไหวกล้องออกจากวัตถุ เรียกว่า Dolly out การดอลลี่ (Dolly) จะคล้ายซูม (Zoom) ความลึกของภาพจะมากกว่าการซูม

H : การแทรค (Trucking / Tracking )
หมายถึง การเคลื่อนกล้องไปด้านซ้ายหรือขวาให้ขนานกับวัตถุ การแทร็ค จะคล้ายกับการแพน แต่จะให้ความรู้สึกเคลื่อนผู้ชมเคลื่อนที่ เพราะฉากจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนกล้อง

I : การอาร์ค (Arking)
หมายถึง การเคลื่อนกล้องในแนวเป็นรูปครึ่งวงกลม

J : การเครน (Booming / Craning)
หมายถึง การเคลื่อนกล้องแนวตั้ง ขึ้นลง

K : การดี โฟกัส (De focus)
หมายถึงการปรับเลนส์ภาพทำให้เบลอก่อนที่เปลี่ยนภาพแล้วกลับมาชัดอีกครั้ง (ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีเป็นความนึกคิดของตัวละคร)

L : การชิพ โฟกัส (Shift focus)
หมายถึง การปรับความคมชัดของภาพ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เพื่อให้ผู้ชมสนใจตรงจุดที่เราโฟกัสนั่นเอง

M : สติลช็อต (Still Shot)
หมายถึง การถ่ายภาพโดยไม่เคลื่อนกล้อง ใช้มากในการถ่ายทำรายการทั่วไป เป็นภาพที่เห็นกันโดยทั่วไป

N : ความต่อเนื่อง และสมจริง
แกนสนทนา หรือแกน 180 องศา (Axis Line / Conversation Line / 180. Line )
หมายถึง เส้นสายตาระหว่างคู่สนทนา มีเพื่อป้องกันการสับสนของผู้ชม นั่นคือ ไม่ว่าจะย้ายกล้องไปทิศทางใด ก็ไม่ควรจะข้ามเส้นสมมติเส้นนี้ เพราะถ้าถ่ายข้ามเส้น 180 นี้ จะทำให้ ภาพที่ออกมา จะเป็นมุมกลับกัน ยกเว้นกรณีที่ถ่าย Shot เดียวต่อเนื่อง แล้วเคลื่อนกล้องข้ามเส้น 180 นี้ไป

O : องค์ประกอบภาพ
กฎ 3 ส่วน: เป็นการแบ่งเฟรมภาพ ออกเป็น 3 ส่วนทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อเป็นแนวในการที่จะเน้นสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ

P : เส้นนำสายตา

เส้นทแยงมุม
เส้นสามเหลี่ยม
เส้นรัศมี
ความสมดุลของภาพ

แสงพื้นฐานในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์

Key light
Fill light
Back light

ค. ขั้นหลังการผลิตรายการ POST PRODUCTION
Movie_editing

เป็นกระบวนการสุดท้ายก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณชน เป็นนำเอาภาพที่ไปถ่ายทำ มาเรียบเรียงตัดต่อส่วนที่เกินหรือไม่ต้องการออก หรือเอาภาพที่ต้องการมาแทรก มีการใส่สีสันความน่าสนใจด้วยการใช้เอฟเฟ็คต่างๆ ใส่กราฟฟิค ต่างๆ ขึ้นชื่อ ใส่ดนตรี เสียงพากย์ ไตเติ้ล

โดยรูปแบบของการตัดต่อ จะมี 2 รูปแบบ คือ

Linar เป็นการตัดต่อ โดยการใช้สายสัญญาณ เป็นตัวส่งสัญญาณจากเครื่องเล่นเทป มายังเครื่องผสมสัญญาณภาพ (Mixer)และสร้างเอฟเฟคพิเศษ (SEG.) ก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องบันทึกเทป เรียกโดยทั่วกันว่า A/B Roll

Non-linar เป็นการตัดต่อโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการนำเอาภาพที่ถ่ายทำมาลงในฮาร์ทดิสก์ แล้วใช้โปรแกรมทำการตัดต่อทำการตัดต่อ เมื่อเสร็จแล้วก็ถ่ายสัญญาณสู่เครื่องบันทึกเทป

ตัวอย่างและการมอบหมายภาระงาน (สำหรับการอบรมฯ 5 สิงหาคม 2560) : 
1. ตัวอย่างไฟล์โครงร่าง (Proposal) การผลิต VDO คลิกเลย >> [ดาวน์โหลดโครงร่างการผลิตวิดีโอ]
2. ตัวอย่างไฟล์ Script การผลิต VDO  คลิกเลย >> [ดาวน์โหลดไฟล์ Script การผลิตวิดีโอ]
3. ตัวอย่างไฟล์ Script การผลิต VDO กระดาษสา  คลิกเลย >> [ดาวน์โหลดไฟล์ Script การผลิตวิดีโอ]

ตัวอย่างคลิปวิดีทัศน์ที่ถ่ายทำและตัดต่อจาก Script การผลิต VDO 

ตัวอย่างคลิปผลงานนักเรียน [คลิปที่ 1] [คลิปที่ 2] [คลิปที่ 3]



Leave a Comment