อาหารที่มีกรดยูริกสูง อาหารที่ควรงดเพราะมีกรดยูริกสูง อาหารเสี่ยงโรคเก๊าท์ คนเป็นเก๊าท์ต้องงด อาหารมีกรดยูริก

กรดยูริค (Uric acid) คือกรดชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการเผาผลาญของสารพิวรีน ถ้ามีมาก เกินไปจะเก็บสะสมตามข้อต่างๆ จนอาจจะเป็นโรคเก๊าท์ได้ ผู้ชาย ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ที่มา: nutrition.anamai.moph.go.th)

ก. อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย ( 0-50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2. ไข่ 3. ธัญญพืชต่าง ๆ 4. ผักต่าง ๆ 5. ผลไม้ต่าง ๆ 6. น้ำตาล 7. ผลไม้เปลือกแข็ง (ทุกชนิด) 8. ไขมัน

ข. อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง (50-150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม)
1. เนื้อหมู 2. เนื้อวัว 3. ปลากระพงแดง 4. ปลาหมึก 5. ปู 6. ถั่วลิสง 7. ใบขี้เหล็ก 8. สะตอ 9. ข้าวโอ๊ต 10. ผักโขม 11. เมล็ดถั่วลันเตา 12. หน่อไม้

ค. อาหารที่มีพิวรีนสูง (150 มิลลิกรัมขึ้นไป) จัดเป็นอาหารที่ควรงด
1.หัวใจไก่ 2.ไข่ปลา 3.ตับไก่ 4.มันสมองวัว 5.กึ๋นไก่ 6.หอย 7.เซ่งจี้(หมู) 8.ห่าน 9.ตับหมู 10.น้ำต้มกระดูก 11.ปลาดุก 12.ยีสต์ 13.เนื้อไก่,เป็ด 14.ซุปก้อน 15.กุ้งชีแฮ้ 16.น้ำซุปต่าง ๆ 17.น้ำสกัดเนื้อ 18.ปลาไส้ตัน 19.ถั่วดำ 20.ปลาขนาดเล็ก 21.ถั่วแดง 22.เห็ด 23.ถั่วเขียว 24.กระถิน 25.ถั่วเหลือง 26.ตับอ่อน 27.ชะอม 28.ปลาอินทรีย์ 29.กะปิ 30.ปลาซาดีนกระป๋อง

uric-food2

การดูแลตนเองสำหรับผู้มีกรดยูริคสูง
1. รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ โดยงดอาหารที่มีพิวรีนสูง ซึ่งได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อวัว น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์เข้มข้น น้ำต้มเนื้อ ปลาทู ปลารัง หอยแมลงภู่ หอยสแคลลอบ ห่าน ไข่ปลา ปลาไส้ตัน และผลิตภัณฑ์จากปลาไส้ตัน ยีสต์ และอาหารหมักที่ใช้ยีสต์
2. ผัก รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย ไม่รับประทานส่วนยอดผัก และหลีกเลี่ยงหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
3. รับประทานเต้าหู้เป็นประจำ เพราะเต้าหู้จะช่วยขับยูริคได้
4. ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง
5. ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริค
6. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
7. ผักทอดยอด ยอดคะน้า และยอดผักหวานก็เป็นอาหาร ที่ควรละเว้น โดย
7.1. ขณะที่เกิดอาการ หรือผู้ที่เป็นโรคเกาต์ ควรงดยอดผักทุก ชนิด เพราะส่วนที่กำลังงอกจะมี สารพิวรีนสูงเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ ยอดผักบุ้งจีน
ผักเฉพาะที่เกิดอาการ
7.2. ผลของพืชไม่ได้ห้าม แต่เมล็ดพืชควรงด รวมทั้งงาด้วย ให้สังเกตว่าอะไรที่สามารถงอกได้จะ มีการสะสมสารพิวรีนแม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม
7.3. เช่นเดียวกับข้อ 7.2 คือเมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ
7.4. ถั่วเมล็ดแห้งทั้งหลายมีสารยูริกสูงปานกลาง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่ในที่นี้คุณดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ ๑ ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมาก ประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ ๒ แก้ว ถ้าอาการ ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องงดสักระยะหนึ่งก่อน ให้เวลาร่างกายขับยูริกออกก่อน ปกติเมื่อปรึกษาแพทย์ๆ จะให้ยาขับยูริก และอาการจะดีขึ้นใน ๓-๔ วัน
7.5. การเกิดกรดยูริกมาจาก 2 ปัจจัย
– ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สารต่างๆ ในอาหารทั่วไปที่มีผลทำให้ปริมาณกรดยูริกในร่างกายสูงขึ้นได้ เช่น สารพิวรีน กรดยูริก หรือเกลือของกรดยูริกในอาหาร สารพวกนี้จะถูกเผาผลาญเป็นกรดยูริกได้
– เกิดจากปัจจัยภายใน กรดยูริกที่เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เช่น ถ้ากล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นหรือในภาวะอดอาหารมีการสลายของกล้ามเนื้อ จะมีสารพิวรีนเกิดมาก กรดยูริกก็เกิดมากด้วยอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ปลาซาดีน ตับ ไต น้ำสกัดจากเนื้อน้ำต้มกระดูก อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ เนื้อ ไก่ ปลา อาหารทะเล หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ถั่วต่างๆ เห็ด กะหล่ำดอก ยอดผักต่างๆ อาหารที่มีพิวรีนต่ำ ได้แก่ ผักเกือบทุกชนิด ผลไม้ ไข่ นม เนยแข็ง เมล็ดข้าวขัดสี แป้ง (ยกเว้น แป้งสาลี)

นอกจากนี้ ยาบางอย่าง เช่น แอสไพริน และยาที่เข้าซาลิไซเลต ยับยั้งการขับยูริกออกจากร่างกาย อาหารที่มีไขมันสูงจะยับยั้งการขับยูริกออกจากร่างกาย น้ำดื่มก็นับว่าสำคัญ ควรดื่มน้ำให้มาก อาจถึง ๓ ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีกรดยูริกเข้มข้นมากจนตกตะกอนและจับตัวเป็นผลึก ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้

สำหรับเรื่องการออกกำลังกาย ขณะที่มีอาการไม่ควรออกกำลังกาย เพราะกล้ามเนื้อทำงานมาก ก็มีสารพิวรีนมากขึ้น และมีการสร้างสาร แลคเตท ทำให้การขับยูริกลดลง ในภาวะปกติที่ไม่มีอาการกำเริบ คือสามารถควบคุมอาการของโรคได้ ก็ออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่หนักเกินไป เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ โยคะ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.doctor.or.th/node/1941
ที่มาภาพ : http://cb.lnwfile.com/nqilcl.jpg



One Comment

  1. Sirintra Thungli says:

    ชอบคุณค่ะ

Leave a Comment