ปฏิวัติ รัฐประหาร ประวัติศาสตร์การปฏิวัติ รัฐประหารของไทย การเข้าควบคุมอำนาจรัฐ ยึดอำนาจรัฐ 2557

วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. : คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกและ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้ออกแถลงการณ์ การเข้าควบคุมอำนาจรัฐ หลังจากการหารือแก้ปัญหาวิกฤติชาติ เพื่อหาทางออกให้ประเทศล้มไม่เป็นท่า ในแถลงการณ์ครั้งนี้ ใช้คำว่า เข้าควบคุมอำนาจรัฐ ทำให้หลายคนสงสัยว่า นี่คือ การปฏิวัติ หรือเป็นการรัฐประหาร กันแน่ ANANTASOOK จึงขอนำความหมายของคำว่า ปฏิวัติ คืออะไร และ รัฐประหาร คืออะไร มาเทียบเคียงกันดูว่า แตกต่างกันอย่างไร

coup-d'etat-13ปฏิวัติ (revoluton) 
หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง ยกเลิกระบบเดิม ไปใช้ระบบใหม่ เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monachy) ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) 

รัฐประหาร(coup de ta) 
หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป เช่น การรัฐประหารสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ การรัฐประหาร 19 กันยา 2549 สมัย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ที่ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งจะเห็นว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะคณะรัฐบาลเท่านั้น โดยที่ประเทศไทยยังคงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขเช่นเดิม ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าความหมายของ “รัฐประหาร” และ “ปฏิวัติ” ต่างกัน รวมถึงการปฏิบัติก็ต่างกัน ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นี้ จึงเรียกว่า การรัฐประหาร สำหรับประเทศไทยเคยเกิดรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง (รวมครั้งนี้) ได้แก่
     1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
     2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
     3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
     4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
     5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
     6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
     7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
     8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
     9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
     10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
     11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
     12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
     13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

ANANTASOOK ไม่อยากเห็นความแตกแยกแบ่งฝ่ายของคนไทย อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข เป็นประชาธิปไตยที่นักการเมืองมีความรับผิดชอบ ขอให้สถานการณ์กลับสู่ความเรียบร้อยปกติสุขโดยเร็ว

เรียบเรียงจาก
1. http://hilight.kapook.com/view/102531
2. http://www.oknation.net/blog/Jomchan13713/2010/01/27/entry-1

ภาพประกอบจาก : http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuFVQ5hyHHvjafeKtolMuYFW5V5E7jzUd1l2AuV1.jpg



Leave a Comment