คุณครูกับการเลือกหัวหน้าห้อง การลงคะแนนเสียงในห้องเรียน ประชาธิปไตยของนักเรียน

คุณครูกับหัวหน้าห้อง : บทบาทของคุณครูกับการเมืองของนักเรียน ประชาธิปไตยในชั้นเรียน

teacher-democracyเรื่องมันมีอยู่ว่า คุณครูอยากให้นักเรียนเรียนรู้ประชาธิปไตย
จึงจัดให้มีการเลือกหัวหน้าห้อง โดยวิธีออกเสียงลงคะแนน
มีนักเรียนเสนอตัวสองคน คือ นาโต ขาใหญ่ กับ ยานไพ่ เริงเล่น
คุณครูจึงเรียกให้ นายขยัน ปันดี มาเป็นตัวเลือกอีกคนหนึ่ง
นายโตมีนโยบายไม่ต้องทำเวร เอาเงินรวมมาเลี้ยงขนม ไม่ต้องนำมาเงินมาออม
นายไพ่เสนอให้เล่นในห้องเรียนได้ ไม่ต้องสอบเก็บคะแนน
ส่วนนายขยัน เสนอให้ท่องศัพท์วันละ 10 คำ ทำเวรสองเท่า เข้าเรียนตรงเวลา
ผลปรากฎการลงคะแนนของนักเรียน 45 คน
นายโต ได้คะแนน 20 คะแนน
นายไพ่ ได้คะแนน 18 คะแนน
นายขยัน ได้ 7 คะแนน

ถ้าคุณเป็น คุณครู คุณจะทำเช่นไร
หรือประชาธิปไตย ยังต้องเดินหน้า ???

ความรู้เพิ่มเติม : ประชาธิปไตยในโรงเรียน
โรงเรียน เป็นองค์กรหนึ่งที่มีคนจำนวนมากมาอยู่ร่วมกัน โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นเสมือนหัวหน้าหรือผู้ดูแลสมาชิกทั้งหมดของโรงเรียนนอกจากนี้ นักเรียนยังมีหัวหน้าห้อง คณะกรรมการนักเรียน และประธานนักเรียนเป็นตัวแทนของนักเรียน
หัวหน้าห้อง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างนักเรียนในแต่ละห้องกับครู และเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในห้องเรียนของตน
ประธานนักเรียน คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างนักเรียนและครู และช่วยผลักดัน ช่วยส่งเสริมนโยบายที่เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าอยู่ อีกทั้งผลักดันให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
คณะกรรมการนักเรียน คือ บุคคลที่มีส่วนช่วยในการทำงานด้านต่างๆ ของหัวหน้าห้องหรือประธานนักเรียน เช่น คณะ กรรมการด้านกิจกรรม คณะกรรมการด้านวิชาการ คณะกรรมการด้านระเบียบวินัย เป็นต้น

ที่มาของตัวแทนนักเรียน [ประชาธิปไตยหลายรูปแบบ] มีหลายรูปแบบดังนี้
     1. การแต่งตั้งจากครู ครูจะเป็นผู้พิจารณานักเรียนที่ครูเห็นว่าดีเด่น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมและมีคุณธรรม ขึ้นมา เป็นหัวหน้าห้องหรือประธานนักเรียน
     2. การเลือกตัวแทนออกเสียง โดยให้นักเรียนทุกคนคัดเลือกตัวแทนนักเรียน แล้วให้ตัวแทนนักเรียนมาเป็นผู้คัดเลือกหัวหน้าห้อง, ประธานนักเรียน หรือคณะกรรมการนักเรียน ที่ตัวแทนนักเรียนคิดว่าเหมาะสม
     3. การออกเสียงโดยตรง โดยให้นักเรียนทุกคนเลือกผู้สมัครที่อาสามาเป็นหัวหน้าห้อง ประธานนักเรียน หรือคณะกรรมการนักเรียน ตามจำนวนที่เลือกได้ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่เหมาะสม จากนั้นให้นักเรียนทุกคนลงคะแนนเสียง แล้วนับผลคะแนนการลงเสียง ถ้าผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงมากที่สุด บุคคลนั้นก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าห้อง, ประธานนักเรียน หรือคณะกรรมการนักเรียน

ชมหนังสั้น : หัวหน้าห้องคนใหม่

ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติในโครงการคำพ่­อสอน รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
หนังสั้น หัวหน้าห้องคนใหม่ : เรื่องราวเกี่ยวกับ มาโนชเด็กผู้ชายที่มีลักษณะเรียบร้อย ถูกเพื่อนๆในห้องเลือกให้เป็นหัวหน้าห้องค­นใหม่ เมื่อหัวหน้าห้องคนเก่าต้องย้ายโรงเรียนไป เพื่อหวังให้เขาไม่ต้องจดชื่อเพื่อนๆในชั้­นเรียนที่ชอบคุยและเล่นกันจนเสียงดัง สุดท้ายเมื่อเพื่อนๆทำผิดมาโนชก็รับผิดแทน­เพื่อนร่วมห้องทุกคน

ที่มาเรื่องเล่าและภาพประกอบ : ปฏิรูปประเทศไทย ประชาธิปไตยในชั้นเรียน ; มีการแชร์ทั่วไปใน Social Media; Facebook อ้างอิงดังที่ปรากฎในภาพ
ที่มาความรู้ : ประชาธิปไตยในชั้นเรียน : [https://sites.google.com/site/tanapornkaewmanee/home/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-6-rea-pen-khn-thiy/6-1-prachathiptiy-ni-rongreiyn]



Leave a Comment