[ใบงาน] การประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (นโยบายสะเต็มศึกษา) โรงเรียนตาเบาวิทยา

obec-travel3ตามที่โรงเรียนตาเบาวิทยา ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 เป็น 1 ใน 9 โรงเรียนที่มีผลการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ด้านนโยบาย STEM Education ดีเด่น นายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนตาเบาวิทยา จึงได้จัดทำใบงานประกอบการประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (สพฐ.สัญจร) จุดที่ 3 โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้

๑.หน่วยงานที่ท่านปฏิบัติหน้าที่
๑.๑ โรงเรียนตาเบาวิทยา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑.๒ สพม. ๓๓

๒. แนวทาง/ขั้นตอนการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ คือ (๑) ประชุมวางแผนและกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานร่วมกัน (๒) กำหนดครูผู้รับผิดชอบหลักให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการดำเนินการ (๓) หาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศที่ดำเนินการและประสบผลสำเร็จเป็นแบบอย่าง (๔) ดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างครูกับผู้บริหาร หากพบข้อบกพร่องให้ปรับปรุงแก้ไขทันท่วงที (๕) ภูมิใจในความสำเร็จร่วมกัน

๓. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่หรือหน่วยงานของท่านที่ผ่านมา มีผลงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ประสบผลสำเร็จ สามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ดี (๑ เรื่อง) คือ เรื่อง การขับเคลื่อนกิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) สู่ชั้นเรียน สอดคล้องกับนโยบาย ข้อ ๕ STEM Education โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โรงเรียนตาเบาวิทยา ได้รับคัดเลือกให้เป็น ๑ ใน ๓ โรงเรียนแกนนำการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสู่ชั้นเรียน ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

๔. ปัจจัยที่ทำให้นโยบายสู่การปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ คือ
(๑) ผู้บริหารสถานศึกษา เคยเป็นครูที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ครูดีเด่นสะเต็มศึกษา สาขาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (๒) ครูวิทยาศาสตร์และครูคณิตศาสตร์ รวมจำนวน ๔ คน ได้เข้าร่วมโครงการสนุกวิทย์ พลังคิดเพื่ออนาคต (Chevron Enjoy Science) ของมูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย จึงได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการใช้สื่อการเรียนรู้ของโครงการ (๓) ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ได้เข้าร่วมอบรมการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในโรงเรียน เป็นเวลา ๒ วัน และได้รับทุนสนับสนุนจำนวน ๕,๐๐๐ บาท มาจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในโรงเรียน (๔) โรงเรียนต่างๆ ใน
สพม. ๓๓ เชิญผู้อำนวยการและครูไปจัดกิจกรรมค่ายสะเต็มศึกษา จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา

๕. ปัญหา อุปสรรค ของการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
โรงเรียนขนาดเล็ก ครูแต่ละคนมีภาระงานพิเศษที่ต้องรับผิดชอบหลายงาน จนทำให้เวลาในการขับเคลื่อนนโยบายหลักต่างๆ เป็นไปตามจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ขาดการดำเนินการต่อเนื่อง

หมายเหตุ : รายละเอียดข้างต้นปรากฎในใบงานที่จัดทำเพื่อจัดส่ง สพม. ๓๓ ก่อนเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (สพฐ.สัญจร) จุดที่ ๓



Leave a Comment