ศัพท์วิทยาศาสตร์ศึกษา (คำศัพท์เกี่ยวกับการเรียนการสอน และทฤษฎีการเรียนรู้) แนวคิดเชิงสังคมวัฒนธรรม

science-education1. Situated Cognition
Situated Cognition หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสม เพิ่มพูน จากการปฏิบัติ ศึกษา สืบค้น ตรวจสอบ ของบุคคล ภายใต้ “บริบททางสังคม วัฒนธรรม บุคคล และภาษาเฉพาะ ณ ขณะนั้น เวลานั้น สังคมนั้น”

ดังนั้น “ความรู้” จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากบุคคล ชุมชน สังคม และวัฒนธรรมนั้นได้ หรือเป็นความรู้ที่ไม่สามารถแยกออกจากการกระทำได้ หรืออาจกล่าวว่า เป็นความรู้ที่เกิดจากกิจกรรมของสังคม วัฒนธรรม และบริบททางกายภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยมีการสร้างความรู้จากการสร้างความหมาย (หรือสร้างคำอธิบาย) เองภายใต้การเชื่อมโยงเข้ากับกิจกรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

ที่มา : วราวรรณ จันทรนุวงศ์ (ศิริอุเทน) : http://www.gotoknow.org/posts/278070

social-culture2. Socio-cultural Theory
แนวคิดวิทยาศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการที่มนุษย์ พยายามสร้างความหมายเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ ซึ่งก่อนที่ข้อค้นพบต่างๆ จะเป็นที่ยอมรับ ต้องผ่านกระบวนการนำเสนอข้อค้นพบ เกิดการอธิบาย ถกเถียงแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจนเป็นที่ยอมรับ ซึ่งกล่าวได้ว่า ภายใต้แนวคิดดังกล่าว วิทยาศาสตร์เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ผ่านกระบวนการทางสังคม จากความเชื่อดังกล่าว ทำให้เกิดแนวคิดหนึ่งเกี่ยวกับผู้เรียนว่า บริบททางสังคมมีอิทธิพลต่อความเข้าใจของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพ การเรียนการสอนในห้องเรียน จึงต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับบริบทในชีวิตจริงของผู้เรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาองค์ความรู้จากสถานการณ์กิจกรรม ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ : แนวคิดเชิงสังคมวัฒนธรรม ; เพจ ดาราศาสตร์ศึกษา



Leave a Comment