ฟิสิกส์นิวเคลียร์ไทย-ลาว : เปรียบเทียบการสอน STS และการเรียนรู้ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ของนักเรียนไทย นักเรียนลาว

           นายศักดิ์อนันต์   อนันตสุข (Mr. ANANTASOOK) ได้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (STS)  ของ Yuenyong (2006) ขึ้นมา จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ ปรมาณูเพื่อสันติ อยู่ปลอดภัยกับกัมมันตภาพรังสี และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับประเทศไทย (รวมถึงหน่วยย่อย พลังงานทางเลือกสำหรับประเทศไทย) โดยครอบคลุมสาระการเรียนรู้เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ของกระทรวงศึกษาธิการไทย และได้นำมาจัดการเรียนรู้ โดย Mr. ANANTASOOK ได้จัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนประเทศไทย เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการตัดสินใจของนักเรียน และได้อนุญาตให้ Mr.Phoxay  Sengdala อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ไปจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อศึกษาธรรมชาติวิทยาศาสตร์ (NOS : Nature Of Science) ของนักเรียน ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนลาว เป็นอย่างไร จะได้จัดทำมานำเสนอต่อไป ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์ศึกษาและการสอนของครูฟิสิกส์ไทย-ลาว เบื้องต้นมีผลงานและภาพบรรยากาศชั้นเรียนฟิสิกส์ไทย-ลาว มาฝากครับ

 

บรรยากาศชั้นเรียนฟิสิกส์นิวเคลียร์ STS ไทย
บรรยากาศชั้นเรียนฟิสิกส์นิวเคลียร์ STS ลาว
sts-thai-class-1บรรยากาศการเรียนรู้ และการใช้ ICT ในชั้นเรียนไทย sts-lao-class-1บรรยากาศการเรียนรู้ และการใช้ ICT ในชั้นเรียนลาว

sts-thai-class-2การนำเสนอผลการทำงานของนักเรียนไทย

sts-lao-class-2การนำเสนอผลการทำงานของนักเรียนลาว
sts-thai-class-3ตัวอย่างผลงานอุปกรณ์ป้องกันรังสีของนักเรียนไทย sts-lao-class-3ตัวอย่างผลงานอุปกรณ์ป้องกันรังสีของนักเรียนลาว

 หมายเหตุ : เว็บโครงการวิจัย ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (ประเทศไทย) :: http://krusmart.wordpress.com/



Leave a Comment