[สรุป ฟิสิกส์] สรุปสูตรฟิสิกส์ ม.ปลาย : ธรรมชาติและขอบเขตวิชาฟิสิกส์ สรุปเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ ข้อจำกัดฟิสิกส์

physics-conceptหน่วยการเรียนรู้
ธรรมชาติและขอบเขตของวิชาฟิสิกส์

วิทยาศาสตร์ (SCIENCE) คือ การศึกษาหาข้อเท็จจริงในธรรมชาติทั้งเป็นสิ่งมีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างมีขั้นตอนระเบียบแบบแผนและมีเหตุผล

สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลป ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดจากการกระทำของเทพจ้าหรือภูติผีปีศาจ (แต่ต่อมามีการสังเกต และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีหลักเกณฑ์)

ความรู้ที่มนุษย์ได้รับมีการพัฒนาจาก
1.การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีหลักเกณฑ์
2.การบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
3.การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อสรุปเป็นความรู้
4.การบันทึกข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ มีหลักดังนี้

-บันทึกข้อมูลด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์
-บันทึกวิธีการที่ใช้สังเกต
-บันทึกเครื่องมือที่ใช้สังเกต
-บันทึกตัวแปรต่างๆ ขณะทำการสังเกต

ความรู้วิทยาศาสตร์ได้มา 2 ทาง
แนวทางที่ 1 แนวทางที่อาศัยประสบการณ์ ได้จากการสังเกต บันทึก ทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล เพื่อสร้างเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ
แนวทางที่ 2 ได้จากการสร้างแบบจำลองทางความคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อสร้างทฤษฎีใหม่

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เป็นการศึกษาสิ่งต่างๆ และความเป็นไปในธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 สาขา
1.วิทยาศาสตร์ชีวภาพ : ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต
2.วิทยาศาสตร์กายภาพ : ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1. การศึกษาเชิงคุณภาพ : เป็นการบรรยายด้วยข้อมูลเชิงพรรณนาตามสภาพการรับรู้ของคนเรา
2. การศึกษาเชิงปริมาณ : เป็นการบรรยายด้วยข้อมูลเชิงตัวเลขที่ได้จากการสังเกตและเครื่องมือวัด

สรุปเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์

-บิดาวิชาฟิสิกส์ : อัลเบิร์ต ไอสไตน์
-ฟิสิกส์ : วิทยาศาสตร์กายภาพ
-ฟิสิกส์ : เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ
-ฟิสิกส์ : อาศัยคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐาน
-ฟิสิกส์ : ไม่เน้นการนำไปประยุกต์ใช้ (ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ เท่านั้น)
-วิศวกรรมศาสตร์ : เป็นวิชาที่นำเอาหลักการทางฟิสิกส์ไปประยุกต์ใช้
-เทคโนโลยี : เกิดจากการนำฟิสิกส์ไปประยุกต์ใช้งาน
-เทคโนโลยี : การพัฒนาวิธีการในการผลิตหรือใช้สิ่งต่างๆ เพื่ออำนวยประโยชน์และสนองความต้องการของมนุษย์

ข้อจำกัดของความรู้ทางฟิสิกส์
1.ข้อมูลที่ทราบในขณะนั้น
2.พัฒนาการเกี่ยวกับเครื่องมือและวิธีวัด

เนื้อหานี้จัดทำ โดย : คุณครูศักดิ์อนันต์ อนันตสุข อนุญาตให้ใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แบบแสดงที่มา 



Leave a Comment