ข้อแนะนำเพื่อป้องกันการหลอกลวงรหัสผ่าน (Password) บนอินเทอร์เน็ต วิธีป้องกันการโดนแฮกรหัสผ่าน

ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานมีการสร้างบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username & Password) ในหลาย ๆ ระบบ เช่น อีเมล, ระบบการสร้างเว็บไซต์, บัญชีการใช้งาน Social Network เป็นต้น อย่างไรก็ตามอาจจะมีผู้ไม่หวังดีคาดหวังที่จะหลอกลวงรหัสผ่านเหล่านั้นไปใช้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ได้  ReadyPlanet ผู้นำการตลาดดิจิตอลแบบเน้นผลลัพธ์ จึงได้นำรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยและข้อควรระวังป้องกัน ไม่ให้ถูกหลอกลวงรหัสผ่าน มาฝาก และ Anantasook.Com ขอเผยแพร่ต่อดังนี้

password-protectionรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยและแพร่หลาย ถูกเรียกว่า ฟิชชิง  (Phishing) ซึ่งเป็นการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลรหัสผ่าน โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือ Chat เพื่อหลอกลวงขอข้อมูลนั้น ๆ เช่น การส่งข้อความไปบอกว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่ท่านมีความเกี่ยวข้อง และขอให้เปลี่ยน Password โดยให้คลิกลิงก์ที่ส่งมาด้วย โดยหน้าเว็บปลายทางของลิงก์เป็นเว็บปลอมที่หลอกถาม Password เดิม เมื่อลูกค้ากรอกข้อมูลให้ ผู้หลอกลวงก็จะนำ Password นั้น ๆ ไปหาประโยชน์ต่อไป เป็นต้น

ข้อควรระวังป้องกันการหลอกลวงดังกล่าว ทำได้ดังต่อไปนี้

1. กำหนด Password ที่ยากแก่การคาดเดาและเปลี่ยนอยู่เสมอ ตลอดจนไม่ใช้ Password ที่ซ้ำกันในหลาย ๆ ระบบ : Password ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และใช้อักขระพิเศษผสม ไม่ตรงกับความหมายในพจนานุกรม เพื่อให้เดาได้ยากมากขึ้น และควรเปลี่ยน Password อยู่เสมอ (แนะนำให้เปลี่ยนทุก ๆ 30-45 วัน) และการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป เช่น การ Login ระบบ Email, ระบบสนทนาออนไลน์ (chat) ระบบเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ ควรใช้ Password ที่มีความแตกต่างกัน

2. ไม่หลงเชื่อข้อความที่ส่งมาทางอีเมลหรือ chat ที่ขอให้กรอก Password ของท่าน : หากท่านต้องการเปลี่ยน Password ของการใช้บริการใด ๆ ท่านต้องเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของผู้ให้บริการโดยการพิมพ์ URL ของผู้ให้บริการนั้นโดยตรง บน Browser โดยไม่ใช้หน้าเว็บไซต์ที่เข้าจากการคลิกลิงก์บนอีเมลหรือ chat ใด ๆ เนื่องจากให้ตระหนักไว้เสมอว่า อีเมล หรือ chat ดังกล่าว ตลอดจนลิงก์ที่คลิก อาจจะเป็นการทำขึ้นปลอมโดยผู้หลอกลวงเพื่อให้ท่านไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ทำขึ้นมาปลอมเพื่อหลอกลวง Password จากท่าน

ทั้ง 2 วิธีข้างต้น ถือเป็นวิธีเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่จะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานได้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนๆ จะสามารถนำข้อแนะนำเหล่านี้ไปใช้ เพื่อป้องกันการหลอกลวงทางออนไลน์นะครับ

ขอขอบพระคุณ : ReadyPlanet ผู้นำการตลาดดิจิตอลแบบเน้นผลลัพธ์
ภาพประกอบจาก : http://www.neccdc.org/wp-content/uploads/2015/10/20140804-1407150449.664-9.jpg



Leave a Comment