การเรียนการสอนภูมิศาสตร์ตามแนวหลักสูตรใหม่ การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่อง ภูมิศาสตร์ จะสอนสาระภูมิศาสตร์อย่างไร

สำหรับครูสังคมศึกษาที่กำลังจะสอนภูมิศาสตร์หลักสูตรใหม่ครับ (ข้อมูลจากเพจ สังคมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม)

จะเปิดเทอมกันแล้ว ครูสังคมศึกษาคงกำลังวุ่นกับการเตรียมออกแบบหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ที่เริ่มใช้ปีการศึกษา 2561 นี้

จึงขอนำบทความเรื่อง “การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Learning management for Geo-literacy in social studies) ในวิชาสังคมศึกษา” ที่ตัดตอนมาจากบางส่วนบางตอนของหนังสือ “การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy : Learning for our planet) ถอดบทเรียนจากประสบการณ์การสอนในห้องเรียน” โดยอาจารย์กนก จันทรา ครูสังคมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

เล่มเต็มจะมีการจัดจำหน่ายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื้อหาเล่มเต็ม
– รู้จัก Geo-literacy
– เรียนอะไรในภูมิศาสตร์
– เข้าใจระบบธรรมชาติและมนุษย์
– ฝึกการให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์
– ฝึกคิดเชิงพื้นที่ (spatial thinking)
– แปลความหมายทางภูมิศาสตร์และข้อมูลสถิติ
– สืบสอบด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
– มองอนาคต และตัดสินใจอย่างเป็นระบบ

ประมวลทฤษฎีและองค์ประกอบการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ หลักการสอนภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดหลักสูตรฉบับปรับปรุง แนวทางการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการสร้างแบบสอบ การวัดและการประเมินผล สรุปเนื้อหาและมโนทัศน์สาระภูมิศาสตร์ที่ครูควรทราบ

ดาวน์โหลดเนื้อหาที่นี่ >> [บทความเรื่อง “การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์]
ที่มา : เพจ สังคมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม



Leave a Comment