[เจ๋งนะ] การเรียนวิทยาศาสตร์จากเรื่องรอบตัวและผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น [ภูมิปัญญาชาวบ้าน]

local-wisdomการเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว และอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และการมีโอกาสได้เรียนรู้ในสิ่งที่ปู่ ย่า ตา ยายของเราได้สั่งสม คมปัญญา มาแต่บรรพบุรุษ และเกิดผลที่ดี  นอกจากตัวเราจะได้มีโอกาสสืบสานภูมิปัญญาเหล่านั้นแล้ว เรายังสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักการเป็นเหตุเป็นผล และเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางครั้งเราอาจค้นพบ และต่อยอดภูมิปัญญาเพื่อแก้ปัญหาและสร้างรายได้พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นของเราได้ ที่สำคัญการเรียนหรือการศึกษาจะต้องไม่ทำให้เราต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดและห่างไกลจากรากเหง้าที่แท้จริงของตนเองและต้องสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้สูงขึ้นได้ 

ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญา หรือ Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ที่นำมาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์ หรือ ภูมิปัญญา คือ พื้นความรู้ของปวงชนในสังคมนั้น ๆ และปวงชนในสังคมยอมรับรู้ เชื่อถือ เข้าใจ ร่วมกัน เรียกว่า ภูมิปัญญา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Folk Wisdom หรือ Local Wisdom)
หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้ง   “ภูมิรู้ที่สั่งสม คมปัญญา” มาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีหลักการทางวิทยาศาสตร์แทรกอยู่เสมอ และเราสามารถใช้วิทยาศาสตร์ไปอธิบายทุกองค์ความรู้ของชาวบ้าน ด้วยทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นความรู้สมัยใหม่ได้

บรรยายภาพ : การจัดการเรียนรู้บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง การผลิตปูนขาว จากเปลือกหอยที่มีการบริโภคในท้องถิ่น (ส่วนหนึ่งของ LAB วิชาเคมี เพื่อรองรับการประเมินโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา จังหวัดสุรินทร์ โดยนายศักดิ์อนันต์ อนันตสุข วิทยากรโดย นางหนู  สิทธินาม บ้านโนนจำปา ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ )
หมายเหตุ :
ศัพท์การศึกษา “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” หรือ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” สรุปความโดย ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข ในวารสาร สควค. ฉบับที่ 6 หน้าที่ 11



Leave a Comment