[ข้อมูล] การจัดกิจกรรมแนะแนว แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว โครงการแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน

guidance-1ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 กิจกรรม คือ ได้แก่(1) กิจกรรมแนะแนว (2) กิจกรรมนักเรียน (3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีเป็นกิจกรรมหนึ่งในกลุ่มกิจกรรมนักเรียน (กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และกิจกรรมชุมนุม)

กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิด ตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และด้านอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน ผมเองก็เป็นนักกิจกรรมแนวแนะแนวมาตั้งแต่เป็นนักศึกษาปี 1 และทำกิจกรรมด้านการแนะแนวการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยตลอดที่เป็นนักศึกษา เช่น โครงการแนะแนวสัมพันธ์, ค่ายจำปาแก้ว-แนะแนวสัมพันธ์ และเมื่อมาเป็นครู ไม่มีโอกาสทำหน้าที่เป็นครูแนะแนว แต่ก็ได้แนะนำนักเรียนเกี่ยวกับการอ่านหนังสือสอบ การเลือกคณะเข้าเรียน ประสานงานรุ่นพี่จัดกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียน รวมถึงส่งนักเรียนเข้าร่วมค่ายแนะแนวที่น่าสนใจต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ขอบข่ายของกิจกรรมแนะแนวในโรงเรียนมีอีกหลายงาน ดังนี้

การจัดกิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาต้องบริหารจัดการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน ให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตรและมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียน โดยจัดเวลาให้เป็นไปตามสัดส่วนของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น รวมทั้ง จัดบริการและกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 5 งาน และมีกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรมตามแนวการจัดกิจกรรมแนะแนว มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว
     มาตรฐานที่ 1 รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
     มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถแสวงหา และใช้ข้อมูลสารสนเทศ
     มาตรฐานที่ 3 มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
     มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการปรับตัว และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

มาตรฐานที่ 1 รู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง มีความสามารถในการรู้จัก และ เข้าใจ ตนเอง ทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์ ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง มีทักษะ และวิธีการในการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวบรวม และจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบกลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาด เหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 3 มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หมายถึง สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงาน โดยใช้ ข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข หมายถึง การเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ แสดงออกอย่างเหมาะสม มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะคือ
     1. การจัดบริการแนะแนว
     2. การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน

การจัดบริการแนะแนว
     ครูทุกคน รวมถึงครูแนะแนวด้วย ร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดบริการแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาและประสานงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมบริการแนะแนวทั้ง 5 งาน ตามวิธีการดังนี้
     1.งานศึกษารวบรวมข้อมูล ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ สรุป และนำเสนอข้อมูลของผู้เรียน
     2. งานสารสนเทศ- จัดศูนย์สารสนเทศทางการแนะแนวในรูปศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครอบคลุมด้านการศึกษา อาชีพ ชีวิต และสังคม
     3. งานให้คำปรึกษา อาจดำเนินการดังนี้
          – อบรมทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ครู
          -ให้คำปรึกษาผู้เรียนทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
          – ศึกษารายกรณี (Case study) และจัดกลุ่มปรึกษาปัญหา (Case conference)
          – ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่ผู้เรียนมีปัญหายากแก่การแก้ไข
     4.งานกิจกรรมส่งเสริม พัฒนา ช่วยเหลือผู้เรียน
          – จัดกลุ่มพัฒนาผู้เรียนด้วยเทคนิคทางจิตวิทยา
          – จัดบริการ สร้างเสริมประสบการณ์ รวมทั้งให้การสงเคราะห์ เพื่อตอบสนองความถนัด ความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน
     5. งานติดตามประเมินผล
          – ติดตาม ดูแลพฤติกรรมและพัฒนาการของผู้เรียน
          – ติดตามผลผู้เรียน
          – ประเมินผลการดำเนินงานแนะแนว

2. การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน
      ครูทุกคนร่วมรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมแนะแนว โดยมีครูแนะแนวเป็นที่ปรึกษาและประสานงาน ร่วมกันวางแผนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาผู้เรียน เช่น
      2.1 กิจกรรมในห้องเรียน มีดังนี้
          1. กิจกรรมโฮมรูม
          2. กิจกรรมคาบแนะแนว
          3. การสอดแทรกกระบวนการแนะแนว
     2.2 กิจกรรมนอกห้องเรียน ได้แก่
          1. กิจกรรมกลุ่มทางจิตวิทยาและการแนะแนว เช่นโปรแกรมพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการรู้จัก และเห็นคุณค่าในตนเอง
          2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เช่น โครงการอบรม ผู้นำในโรงเรียนสหวิทยาเขต
          3. การทัศนศึกษาแหล่งวิทยาการ และสถานประกอบการ
          4. การเชิญวิทยากร ให้ความรู้ เช่น ผู้ปกครอง นักเรียน ศิษย์เก่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          5. การจัดนิทรรศการ
          6.การจัดป้ายนิเทศ
          7. การปฐมนิเทศ
          8. การปัจฉิมนิเทศ
          9. การจัดเสียงตามสาย
          10. ชุมนุมแนะแนว
          11. กิจกรรมผู้ปกครองพบครูของลูกรัก
          12. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
กิจกรรมตามแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว 9 กิจกรรม มีดังนี้ 
     1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลผู้เรียนที่ตนเองรับผิดชอบเป็นรายบุคคล
     2. คัดกรองผู้เรียนเพื่อจำแนกผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษ
     3. ดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษาเบื้องต้น ในด้านต่าง ๆ ให้ผู้เรียนพัฒนาเด็กตามศักยภาพ
     4. พัฒนาระบบข้อมูลและภูมิความรู้ที่ทันสมัย เป็นประโยชน์และจำเป็นในการดำเนินชีวิต
     5. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องภายในสถานศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน แนวทางการดูแลช่วยเหลือ และการส่งต่อผู้เรียน
     6. ประสานงานกับผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อการร่วมมือในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
     7. จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อป้องกัน แก้ไข และการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนทุกคน รวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ตลอดจนผู้มีปัญหาชีวิตและสังคมให้สามารถพัฒนาตนได้เต็มศักยภาพ
     8. ร่วมจัดบริการต่าง ๆ เช่น
          – แนะแนวกลุ่ม
          – จัดบริการด้านสุขภาพ
          – จัดหาทุนและอาหารกลางวัน
          – จัดหางาน
          – จัดให้มีการฝึกงานและหารายได้ระหว่างเรียน
          – จัดศูนย์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเพื่อการวางแผนชีวิต
          – จัดบริการช่วยผู้เรียนที่มีปัญหา หรือความต้องการพิเศษ
          – ติดตามผลผู้เรียนทั้งในปัจจุบัน และจบการศึกษาแล้ว
ฯลฯ
      9. นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และประชาสัมพันธ์

ดาวน์โหลดแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว
1. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ม 6-สำนักวิชาการฯ-2555

2. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ม 5-สำนักวิชาการฯ-2555

3. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ม 4-สำนักวิชาการฯ-2555

4. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ม 3-สำนักวิชาการฯ-2555

5. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ม 2-สำนักวิชาการฯ-2555

6. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ม 1-สำนักวิชาการฯ-2555

7. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ป 6-สำนักวิชาการฯ-2555

8. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ป 5-สำนักวิชาการฯ-2555

9. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ป 4-สำนักวิชาการฯ-2555

10. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ป 3-สำนักวิชาการฯ-2555

11. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ป 2-สำนักวิชาการฯ-2555

12. แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551 ชั้น ป 1-สำนักวิชาการฯ-2555

13. แนวการจัดกิจกรรมแนะแนว ตามหลักสูตร 2551-สำนักวิชาการฯ-2555

เรียบเรียงข้อมูลโดย ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
http://academic.obec.go.th/web/node/326

 



One Comment

  1. ฤาชัย says:

    ขอบคุณครับ

Leave a Comment