[ส้มแข่ว!] หมากยาง บักยาง ลูกคุย เครือบักยาง สรรพคุณของบักยาง ตำรายาหมากยาง ผลไม้พื้นบ้านอีสาน

bak-yangชือสมุนไพร : กุย คุย ต้นคุย เถาคุย เครือบักยาง หมากยาง ฯลฯ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Willughbeia edulis Roxb.
ผลไม้พื้นบ้าน ที่มีให้กินเฉพาะฤดูร้อน-ต้นฤดูฝน ลักษณะลูกสุกสีเหลืองอมส้ม มีน้ำยางสีขาวปนริมเปลือก รสชาติหวานอมเปรี้ยว พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่ารกร้าง หรือในสวนยางพารา นอกจากกินผลสุกได้แล้ว ยังมีประโยชน์ทางยาอื่นๆ ดังนี้

ก. ตำรายาไทย ลูกคุย
1. เถา มีรสฝาด แก้ประดงเข้าข้อ ลมขัดในข้อ ในกระดูก แก้มือเท้าอ่อนเพลีย ต้มดื่มแก้บิด แก้ตับพิการ แก้คุดทะราด
2. ราก รสฝาด แก้มือเท้าอ่อนเพลีย ต้มดื่มแก้โรคบิด แก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก
3. เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ
4. ยาง รสฝาดร้อน ทาแผล แก้คุดทะราด แก้เท้าเป็นหน่อ
5. ผลดิบ รสเปรี้ยวฝาด ผลแห้งย่างไฟ บดทาแผล

ข. ตำรายาพื้นบ้านอีสาน หมากยาง
1. ลำต้น ผสมลำต้นม้ากระทืบโรง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ
2. เปลือก รักษาอาการปวดศีรษะ
3. ราก ต้มกินรักษาโรคบิด
4. น้ำยาง ใช้ทำกาวดักจับแมลงได้ เช่น จักจั่น โดยนำน้ำยางของพืช 3 ชนิด คือ ยางไทร ยางมะเดื่อหรือยางขนุน และยางเถาคุย มาผสมในอัตราส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นเติมน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันโซล่า แล้วนำไปเคี่ยวจนกระทั่งน้ำยางข้นเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นจึงนำมาใช้ได้
5. ลำต้น ใช้แทนเชือกมัดสิ่งของ
6. ผลสุก มีรสเปรี้ยว รับประทานได้ หล่อลื่นลำไส้ ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก

แนะนำแหล่งข้อมูล ดูเพิ่มเติมที่ : http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=214



Leave a Comment