อักษรธรรมอีสาน ฟอนต์ตัวธรรมอีสาน ตัวธรรมลาว ตัวเมือง อักษรยวน อักษรธรรมล้านนา อักษรมอญหริภุญไชย

อักษรธรรมอีสาน เปนตัวอักษรที่มีรูปลักษณะที่กลมคลายกันกับ “อักษรธรรมลานนา” หรือ “ตัวเมือง” หรือเรียกอีกอยางหนึ่งวา “อักษรยวน” จะมีแตกตางกันบางบางตัวเทานั้น สาเหตุที่คลายกันเปนเพราะอักษรธรรมอีสานนั้นไดรับอิทธิพลและสืบทอดมาจากอักษรธรรมลานนา ซึ่งมีพัฒนาการมาจากอักษรมอญโบราณที่เมืองหริภุญไชย (อักษรมอญหริภุญไชย) ในพุทธศตวรรษที่ 18 อีกที ตัวอักษรชนิดนี้ ใช้ในการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเชน พระไตรปฎก พระธรรมคัมภีร์ต่างๆ เปนตน ซึ่งถือวาเปนอักษรชั้นสูง อักษรศักดิ์สิทธิ์ ตัวอักษรชนิดนี้ ใชในประเทศลาว ก็เรียกวา “ตัวธรรมลาว” ใชในภาคอีสานก็เรียกวา “ตัวธรรมอีสาน” ตามแตละทองถิ่นจะเรียกขาน แตก็หมายถึง ตัวอักษรชนิดเดียวกัน นี้เอง

ตัวอักษรธรรมอีสาน ใชสืบทอดกันมาในดินแดนอีสาน (ดินแดนลาว) หลายศตวรรษจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวฯ โปรดฯ ใหมีการจัดตั้งโรงเรียนใหเรียนอักษรไทยภาคกลางขึ้น ในพระราชอาณาจักรสยาม ตัวอักษรธรรมอีสานจึงหมดความสําคัญลง คงมีการเรียนการสอนอยูเฉพาะบางกลุมเชน ตามวัด หรือ ตามบานหมอเจาพิธีตาง ๆ เทานั้น ปจจุบัน จึงมีผูรูน้อยมากซึ่งผูรูเหลานั้นจัดอยูในกลุมผูสนใจเชน คนเฒาคนแก ตามสถานศึกษาที่ เปดการเรียนการสอนและตามวัดบางวัดเทานั้น จึงสมควรที่จะมีการส่งเสริมให้มีการเล่าเรียนกันใหม่ เพื่ออนุรักษ์ตัวอักษรธรรมอีสาน ให้คงอยู่ต่อไป 

การเปรียบเทียบอักษรไทย-อักษรธรรมอีสาน (พยัญชนะ สระ และตัวเลข)

alphabet-thum-esan

ที่มา : Jim Thompson Farm

อักขรวิธีของอักษรธรรมอีสาน
อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้

ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้

พยัญชนะของอักษรธรรมอีสาน แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือ
พยัญชนะตัวเต็ม คือ รูปของพยัญชนะที่เขียนเต็มรูปตามรูปแบบของอักษรธรรมอีสานซึ่งมี 38 รูป ใช้เขียนบนบรรทัด ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น หรือบางตัวอาจทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือตัวควบกล้ำได้ และในบางกรณีมีบางตัวใช้เขียนใต้บรรทัดซ้อนใต้พยัญชนะโดยทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลี

ตัวเฟื้อง บางครั้งเรียกว่า ตัวห้อย หรือ ตีน ซึ่งเหมือนกับเชิงในพยัญชนะขอม โดยนิยมเขียนใต้บรรทัด (ยกเว้นตัวเฟื้องของพยัญชนะ  และแบบหนึ่งของ  เฟื้อง) ตัวเฟื้องที่พบในอักษรธรรมอีสานมีทั้งหมด 19 ตัว ซึ่งตัวเฟื้องเหล่านี้มีหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวต้นไม่ได้ จะใช้เขียนในกรณีที่พยัญชนะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หรือตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตามในหลักสังโยคของภาษาบาลี

ทั้งนี้ อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบฟอนต์อักษรธรรมอีสาน 2 แบบ
1. อักษรสำหรับพิมพ์บนโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป (word) เรียกชื่อฟอนต์ว่า “UbWManut” 
2. อักษรสำหรับโปรแกรมกราฟิก (PhotoShop) เรียกชื่อฟอนต์ว่า “UbPManut”
โดยชื่อฟอนต์ดังกล่าว ทั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อัษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่

hot[ดาวน์โหลดฟอนต์อักษรธรรมอีสาน คลิกที่นี่]

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม :
1. [ความเป็นมาของอักษรธรรมอีสาน] ; http://www.bl.msu.ac.th/bailan/fonttham/tham.pdf
2. [อักษรอีสานโบราณ อักษรตัวธรรม] ; http://reg.ksu.ac.th/bai_laan/THM.pdf
3. [E-book บทเรียนอักษรธรรมอีสาน] ; http://e-book.ram.edu/e-book/f/FL347(51)/FL347-2.pdf
ขอบคุณข้อมูลจาก :แหล่งเรียนรู้ 1-2-3 และ http://www.isangate.com/word/tham.html



Leave a Comment